Skip to content

XRD Lab

ห้องปฏิบัติการ XRD (X-ray diffraction)

ผู้ดูแล: เจตรจันทร์ จันทร์นุ้ย

เทคนิคการกระเจิงรังสีเอ็กซ์ นั้น เป็นเทคนิควิเคราะห์ตัวอย่างเชิงกายภาพ ซึ่งอาศัยหลักการของแบรกก์ (Bragg)  ที่ว่าเมื่อรังสีเอ็กซ์พลังงานเดี่ยวตกกระทบผลึกหรือโครงสร้างที่มีการจัดเรียงตัวเป็นระนาบของอะตอมอย่างมีระเบียบ จะเกิดการสะท้อนบนระนาบของผลึก และเมื่อผลต่างของระยะทางเดินของรังสีเอ็กซ์มีค่าเท่ากับจำนวนเท่า(n) ของความยาวคลื่นของรังสีเอ็กซ์ (λ) จะทำให้เกิดรูปแบบการเลี้ยวเบนของรังสี ซึ่งรูปแบบดังกล่าวเรียกว่า Diffraction pattern ดังนั้นเมื่อเราทราบความยาวคลื่น และวัดมุมที่เกิดการเลี้ยวเบน (θ) เราก็สามารถคำนวณหาค่าระยะระหว่างระนาบของผลึกได้ (d) โดยแหล่งกำเนิดรังสีเอ็กซ์จะมาจาก X-ray Tube ที่มีขั้วแคโธดปลดปล่อยอิเล็กตรอน และผลิตรังสีเอ็กซ์ที่ขั้วแอโนด

การทราบชนิดของสารประกอบด้วยการวัด XRD ค่อนข้างซับซ้อน และทำได้ยาก เนื่องจากหลายสารประกอบให้ตำแหน่งของพีครังสีเอ๊กซ์ที่เดียวกัน ดังนั้นหากสามารถมีข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค X-Ray Fluorescence (XRF) มาเสริม ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการวิเคราะห์ด้วย XRD โดยในปัจจุบัน สทน. ได้ให้บริการวิเคราะห์ XRF และ XRD ผ่านช่องทาง One Stop Service