Frequently Asked Questions about Environment research
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม
นิวเคลียร์สามารถใช้ประโยชน์ในด้านสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง และทำไมต้องมีการตรวจวัดรังสีในสิ่งแวดล้อม
เทคนิคนิวเคลียร์สามารถใช้ในการตรวจสอบและประเมินระดับรังสีในสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงการติดตามระดับรังสีในดิน น้ำ และอากาศเพื่อประเมินรังสีภูมิหลัง (background radiation) จากการสัมผัสรังสีในชีวิตประจำวัน ตลอดจนความเสี่ยงต่อระบบนิเวศและสุขภาพมนุษย์ เพื่อประเมิน
ทำไมในน้ำใต้ดินถึงมีก๊าซเรดอนสูงกว่าในน้ำผิวดิน
เนื่องจากน้ำใต้ดินไหลผ่านชั้นหินที่มีองค์ประกอบของยูเรเนียมและทอเรียม อีกทั้งเรดอนอยู่ในสถานะก๊าซ จึงทำให้เรดอนสามารถระเหยได้เมื่ออยู่ในสภาวะเปิดในแหล่งน้ำผิวดิน
ทำไมถึงต้องก๊าซวัดเรดอนภายในอาคาร
เนื่องจากวัสดุก่อสร้างที่นำมาใช้สร้างอาคาร อาจมีส่วนประกอบของแร่ยูเรเนียม ทอเรียม จากธรรมชาติปะปนมาด้วย ถึงอาจเกิดการสะสมของก๊าซเรดอนภายในอาคารได้
ถ้ามีก๊าซเรดอนสะสมในอาคารสูงเกินไป เรามีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้าง
เนื่องจากเรดอนอยู่ในสถานะก๊าซ จึงสามารถลดการสะสมได้โดยการเปิดประตูหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท หรือใช้วัสดุปิดทับไม่ให้เรดอนสามารถแพร่ออกมาจากวัสดุก่อสร้างได้
การตรวจวิเคราะห์ไอโซโทปเสถียร (Stable isotope) มีประโยชน์อย่างไร
การใช้ประโยชน์ของข้อมูลไอโซโทปเสถียรจะถูกนำไปใช้ในการหาแหล่งที่มา หรือ แหล่งกำเนิดของน้ำ ของมลพิษต่างๆ ทางด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนงานทางด้านการศึกษาระบบนิเวศวิทยา จะนำไปใช้ในการหาแหล่งที่มาของอาหารของสิ่งมีชีวิตต่างๆ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังนำมาประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบการปลอมปนของอาหาร
คาร์บอนสีน้ำเงิน (Blue carbon) คืออะไร
การสะสมคาร์บอนในระบบนิเวศชายฝั่ง และระบบนิเวศทางเล
คาร์บอนสีเขียว (Green carbon) คืออะไร
การสะสมคาร์บอนในระบบนิเวศบนบก ระบบนิเวศป่าไม้
ในระบบนิเวศทางทะเล รังสีที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม สามารถเข้าสู่สัตว์ทะเลได้อย่างไร
การปนเปื้อนของรังสีในสิ่งแวดล้อมไปยังสัตว์ทะเลเกิดจากการที่สัตว์ทะเลโดยการกินหญ้าทะเล หรือแพลงค์ตอนที่มีการปนเปื้อนรังสีเหล่านั้นในห่วงโซ่อาหาร
สัตว์ทะเลชนิดใดที่พบรายงานว่ามีการปนเปื้อน Pb-210 มากที่สุด เพราะอะไร
สัตว์ประเภทหอย เนื่องจากหอยมีการสัมผัสกับดินตะกอน และกินแพลงค์ตอน ซึ่งในดินตะกอน และแพลงค์ตอนนั้นเป็นแหล่งสะสมของ Pb-210 จึงทำให้มีรายงานว่าพบค่าการปนเปื้อนสูงที่สุดในบรรดาสัตว์ทะเล
ไอโซโทปเสถียรเกี่ยวข้องกับน้ำอย่างไร
น้ำเป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน 2 อะตอม และออกซิเจน 1 อะตอม ไฮโดรเจนจะพบได้ 3 ไอโซโทปคือ 1H (ไฮโดรเจน) 2H (ดิวเทอเรียม) และ 3H (ทริเทียม) และออกซิเจนพบ 2 ไอโซโทป ได้แก่ ออกซิเจน-16 (16O) และ ออกซิเจน-18 (18O) แต่ละไอโซโทปจะมีสัดส่วนตามธรรมชาติเป็นค่าคงที่ค่าหนึ่ง เมื่อน้ำในธรรมชาติแต่เมื่อน้ำมีการเปลี่ยนแปลงสถานะตามธรรมชาติ เนื่องจากเกิดการระเหยและการควบแน่น ความเข้มข้นของไอโซโทปออกซิเจนและไฮโดรเจน ในโมเลกุลของน้ำ จะเกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้น้ำจากแหล่งต่าง ๆ เช่น น้ำทะเล น้ำฝน น้ำบาดาล มีอัตราส่วนไอโซโทปที่แตกต่างกันไป
ไอโซโทปเสถียรกับน้ำมีประโยชน์อย่างไร
ในน้ำแต่ละแหล่งมีค่าสัดส่วนไอโซโทปของoxygenและhydrogenไม่เท่ากัน ซึ่งจะสามารถทำให้เรารู้แหล่งที่มาของน้ำนั้นได้ และสามารถหาเส้นทางการไหลของน้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาลได้และยังสามารถคำนวนหาการเติมของน้ำในแหล่งน้ำต่างๆ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในอนาคต จากสัดส่วนไอโซโทปของ hydrogen และ oxygen
ตัวติดตามรอย (Tracer) ด้วยไอโซโทปเสถียรมีอะไรบ้าง
ในการติดตามรอยด้วยไอโซโทปเสถียรนั้นเราจะใช้สัดส่วนของไอโซโทปในการติดตามรอยดูการเปลี่ยน ซึ่งตัวติดตามรอยที่ใช้ได้ที่มีในสิ่งแวดล้อม เช่น 2 H/1 H, 15 N/ 14N,18 O/16O, 34 S/32 S เป็นต้น สามารถใช้ในทางธรณีวิทยา และใช้ในการหารั่วซึมของบ่อกำจัดของเสีย เพื่อใช้ประโยชน์ด้านความปลอดภัย
ทำไมบริเวณป่าชายเลน ปากแม่น้ำจึงมีความสำคัญทางระบบเวศ
เนื่องจากบริเวณปากแม่น้ำมีการไหลสะสมของธาตุอาหารจากแม่น้ำที่ไปบรรจบกับน้ำทะเล จึงทำให้มีการสะสมของตะกอนในบริเวณปากแม่น้ำ เป็นสาเหตุให้บริเวณปากแม่น้ำมีการสะสมของแร่ธาตุสูง จึงเป็นแหล่งอาหารเหมาะสมแก่การเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ
ประโยชน์ของป่าชายเลนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคืออะไร
เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน
การเพิ่มพื้นที่กักเก็บคาร์บอน จะสามารถช่วยโลกของเราได้อย่างไร
ช่วยลดการปลดปล่อยคาร์บอนได้ออกไซน์ในอากาศ ด้วยการตรึงคาร์บอนเพื่อสังเคราะห์เป็นมวลชีวภาพ (Biomass)
เทคนิคทางไอโซโทปสามารถหาการปนเปื้อนของไนเทรตในแหล่งน้ำได้หรือไม่
เทคนิคทางไอโซโทปสามารถหาการปนเปื้อนของไนเทรตในแหล่งน้ำได้ โดยใช้ค่าอัตราส่วนไอโซโทปเสถียรของไนโตรเจน-15 (d15N) และออกซิเจน-18 (d18O) ที่มาจากไนเทรต เป็นตัวบ่งชี้ว่าไนเทรตที่ปนเปื้อนมาจากกิจกรรมใดของมนุษย์
Updated: 2024