Skip to content

About

ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์ (ศน.) เป็นหน่วยงานวิจัยและพัฒนาหลักของ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. โดยเป้าประสงค์หลักของกลุ่มงานคือการค้นคว้าองค์ความรู้และการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ซึ่งกลุ่มงานวิจัยและพัฒนาฯ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ประมาณ 50 คน ทำงานในสาขาหลากหลาย ทั้งด้านเกษตร โบราณคดี อาหาร สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และวัสดุ

สำหรับโครงสร้างของกลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์นั้น ในวันที่ 18 มกราคม 2561 ได้แบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายวิจัยนิวเคลียร์ และฝ่ายพัฒนานวัตกรรม

ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์ (วพ.) ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์ (ศน.) และเปลี่ยนโครงสร้างเป็น 4 ฝ่าย ประกอบด้วย ฝ่ายเทคโนโลยีเกษตรและอาหาร (ทก.) ฝ่ายเทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ (ทว.) ฝ่ายเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม (ทส.) และฝ่ายบริการวิชาการ (บว.)

และในวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ศน.​ ได้มีฝ่ายเพิ่มขึ้น 1 ฝ่าย คือฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี (ถท.)

ทำให้ ณ ปัจจุบันนี้ ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์ (ศน.) ประกอบไปด้วย 5 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายเทคโนโลยีเกษตรและอาหาร (ทก.) ฝ่ายเทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ (ทว.) ฝ่ายเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม (ทส.) ฝ่ายบริการวิชาการ (บว.) และฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี (ถท.)

งานวิจัยของศูนย์​สามารถแบ่งย่อยเป็น 8 สาขา (คลัสเตอร์) ต่อไปนี้:

  1. เกษตรกรรม (Agriculture): การทำหมันแมลงวันผลไม้ การพัฒนาพันธุ์ข้าว พริก ไม้ดอก
  2. โบราณคดี (Archaeology): มรดกทางวัฒนธรรม การวิเคราะห์อายุ การสืบค้นแหล่งที่มาโบราณวัตถุ
  3. การใช้ลำอนุภาค (Beam utilization): การถ่ายภาพด้วยนิวตรอน การใช้ลำอนุภาคจากเครื่องไซโคลตรอน
  4. พลังงาน (Energy): การศึกษาตัวเร่งปฏิกิริยาไบโอดีเซล การประเมินผลกระทบจากอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
  5. สิ่งแวดล้อม (Environment): การวิเคราะห์น้ำฝน น้ำบาดาล ด้วยเทคนิคไอโซโทปเสถียร การวัดเรดอนในสิ่งแวดล้อม
  6. อาหาร (Food): การตรวจผลการฉายรังสีอาหารและสมุนไพร การวิเคราะห์การปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ สารเจือปน และธาตุองค์ประกอบในอาหาร
  7. สุขภาพ (Health): การใช้ไอโซโทปรังสีวินิจฉัยโรค การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ การพัฒนาเครื่องสำอางโดยกระบวนการทางรังสี
  8. วัสดุศาสตร์ (Materials): การพัฒนาโพลิเมอร์ด้วยรังสี การตรวจสอบพลาสติกชีวภาพ

สถานที่ปฏิบัติงานหลักของกลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์ ตั้งอยู่ที่อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก นอกจากนี้เรามีศูนย์ขนาดเล็กที่เขตจตุจักร กรุงเทพฯ และคลอง 5 จังหวัดปทุมธานี

Nuclear Technology Research and Development Center (NTRDC) is the main research and development group of Thailand Institute of Nuclear Technology (TINT). Our main objective is pursuing new knowledge in and applications of nuclear technology. We have approximately 50 staffs working on various fields of nuclear research including agriculture, archeology, environment, food, health, and materials.

On 18 Jan 2018, R&D Division has been restructured into two sections: Nuclear Research Section and Development of Innovation Section.

On 1 Nov 2020, the Division has been renamed Nuclear Technology Research and Development Center (NTRDC), and re-organized into four sections: Agriculture and Food Technology, Material Technology, Environment Technology, and Academic Services.

On 1 Dec 2021, NTRDC has an additional section: Technology Transfer.

Our research projects can be categorized into 8 clusters: Agriculture, Archeology, Beam utilization, Energy, Environment, Foods & Herbs, Health & Cosmetics, and Materials.

We have the main campus in Ongkharak, Nakhorn Nayok and small sections in Chatuchak, Bangkok and Khlong Lhuang, Pathum Thani. You are welcome to visit us.