Skip to content

Meeting Report: Senses and Consumers (Sirilak, Sep 2021)

อิทธิพลของประสาทสัมผัสที่มีผลต่อการรับรู้ ความพึงพอใจของผู้บริโภค

21 Sep 2021

by Sirilak Chookaew

หัวข้อ อิทธิพลของประสาทสัมผัสที่มีผลต่อการรับรู้ ความพึงพอใจของผู้บริโภค

ระยะเวลา วันที่ 21 กันยายน 2564 (ครั้งที่ 10 )

วัตถุประสงค์ของกิจกรรมในหัวข้อนี้ คือเพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ข้อมูลเกี่ยวกับการตัดสินใจ และความพึงพอใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์

ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ ดังนี้

1. ลักษณะปรากฏ (Appearance) ประกอบด้วย

– Color สี ผู้บริโภคจะตัดสินใจเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีสีอยู่ในช่วงที่ที่ผู้บริโภคคาดหวัง
– Size ขนาด
– Shape รูปร่าง
– Pattern รูปแบบ
– Glass ความมันวาว
– Others

2. กลิ่น (Aroma) ความรู้สึกที่รับรู้ได้ด้วยประสาทรู้กลิ่น (ดมด้วยจมูก)

3. กลิ่นรส (Flavor) ความรู้สึกซึ่งรับรู้ได้ขณะตัวอย่างอยู่ในปาก ประกอบด้วย
– กลิ่น (Aromatic) ความรู้สึกที่รับรู้ได้เมื่อสารให้กลิ่นในตัวอย่างขณะอยู่ในปากระเหยสู่ประสาทรู้กลิ่นผ่านทางด้านหลังโพรงจมูก
– รส (Taste) รสพื้นฐาน (basic tastes) ประกอบด้วย 5 รส คือ หวาน เค็ม เปรี้ยว ขม และอูมามิ
– ความรู้สึกทางเคมี (Chemical feeling factors, Trigeminal sensations) ความรู้สึกในปากเกิดจากสารเคมีบางชนิดซึ่งรับรู้ได้ด้วยเส้นประสาท Trigeminal เช่น ฝาด เผ็ด ร้อน เย็นซ่า

4. เนื้อสัมผัส (Texture)

– Mechanical properties แข็ง กรอบ เหนียว ยืดหยุ่น
– Moisture and fat ชุ่มน้ำ เป็นน้ำมัน
– Geometrical properties หยาบ เนื้อทราย เส้นใย

การประเมินทางประสาทสัมผัสเป็นเครื่องมือที่ทำให้เราทราบลักษณะของผลิตภัณฑ์ ช่องทางการตลาด และยังสามารถเชื่อมโยงไปถึงผู้บริโภคได้ด้วย ซึ่งวิธีการทดสอบทางประสาทสัมผัสมี 3 วิธีด้วยกัน คือ

1. การทดสอบความแตกต่าง (Difference test) เป็นการทดสอบว่าตัวอย่างแตกต่างกันหรือไม่
2. การทดสอบเชิงพรรณนา (Descriptive test) เป็นการวิเคราะห์ลักษณะทางประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์โดยละเอียด
3. การทดสอบกับผู้บริโภค (Consumer test) เป็นการทดสอบของผู้บริโภค ความพอดีของลักษณะทางประสาทสัมผัส และอารมณ์ของผู้บริโภค

ประโยชน์ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาอาหารฉายรังสีได้