Skip to content

​Meeting Report: GEOTHAI 2021 (Chalermphong, Aug 2021)

ประชุมวิชาการธรณีไทย 2564
4-5 Aug 2021
by Chalermphong Polee

การประชุมวิชาการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี ธรณีไทย 2564 ในหัวข้อ “ธรณ๊วถีใหม่ นวัตกรรมไทย เพื่อการพัฒนาที่ยังยื่น

” Geo-Resources for the Society: ทรัพยากรธรณีเพื่อประชาชน: ธรณีวิทยาแหล่งทรัพยากรแร่ ซากดึกกำบรรพ์ น้ำบาดาล และพลังงาน

-การศึกษาวิจัยข้อมูลธรณีวิทยาแหล่งแร่ ซากดึกดำบรรพ์ น้ำบาดาล และพลังงานเพื่อการพัฒนาองค์ความรู่หรือนำไปสู่การแก้ปัญหา การอนุรักษ์ หรือการพัฒนาการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนหรือการพิสูจน์แนวคิดทฤษฎีหรือสมมุติฐาน
-ซึ่งในการประชุมในครั้งนี้ได้มีการนำเสอนงานวิจัยทั้งด้านด้านธรณีและน้ำบาดาล ร่วมถึงวิธีการอนุรักษ์เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว

โดยการประชุมวิชาการในครั้งนี้ผมได้นำเสอนงานด้านการตรวจวัดวิเคราะห์หาอายุวัสดุ โดยเป็นการหาอายุอิฐเพื่อเป็นการหลักฐานหนึ่งในการสืบประวัติเมืองโบราณของไทยที่ได้ล่มสลายมาหลายร้อยหลายพันปี ซึ่งยังคงมีการถกเถียง เรื่องราวและระยะเวลาทางประวัติศาสตร์ที่ยังคงคลุมเครือ โดยได้นำเสอนในหัวข้อ “การศึกษาการกำหนดอายุอิฐโบราณด้วยเทคนิค Optically Stimulated Luminescence (OSL) เทียบกับ Thermoluminescence (TL) ด้วยเครื่อง TL/OSL reader” เฉลิมพงษ์ โพธิ์ลี้1*, วีรชาติ วิเวกวิน2, นิชธิมา เอื้อพูนผล1 และศศิพันธุ์ คะวีรัตน์1

การศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีสามารถสืบค้นได้จากหลักฐานที่ยังคงเหลืออยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ โบราณสถาน โบราณวัตถุ และพยานแวดล้อมในอดีต การวิเคราะห์หลักฐานเหล่านี้จะทำให้เข้าใจเรื่องราวและสามารถเชื่อมโยงประวัติศาสตร์ในแต่ละยุคแต่ละสมัยได้ อย่างไรก็ดีการอธิบายบริบททางประวัติศาสตร์หรือเรื่องราวของแต่ละยุคแต่ละสมัย ต้องใช้ศาสตร์หลายด้านมาประกอบกัน ทั้งศิลปะ โบราณคดี และวิทยาศาสตร์ เพื่อให้การเปิดเผยข้อมูลที่ซ่อนอยู่ในวัตถุโบราณสะท้อนความจริง มีความถูกต้อง และน่าเชื่อถือ การกำหนดอายุของโบราณสถาน หรือวัตถุโบราณ เป็นความสำคัญลำดับต้นๆ ในการสืบค้นข้อมูลในอดีตผ่านทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้เกิดหลักฐานเชิงประจักษ์ สร้างความเข้าใจในช่วงเวลาของวัฒนธรรมโบราณ สามารถเชื่อมโยงลำดับเหตุการณ์ และความสัมพันธ์ของบริบทต่าง ๆ ในแต่ละยุคสมัย งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการกำหนดอายุของอิฐโบราณจำนวน 3 ตัวอย่าง จาก โบราณสถาน บริเวณใต้ฐานพระธาตุ วัดป่าหมากหน่อ ตำบลจันจว้า อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ด้วยเทคนิคการกำหนดอายุแบบเรืองแสงความร้อน หรือ Thermoluminescence (TL) Dating เปรียบเทียบกับการกำหนดอายุแบบเรืองแสงโดยกระตุ้นด้วยแสง หรือ Optically Stimulated Luminescence (OSL) Dating จากการศึกษาพบว่า ทั้ง 2 เทคนิค ให้ผลวิเคราะห์อายุของอิฐทั้ง 3 ตัวอย่างสอดคล้องกัน คือมีค่าอยู่ในช่วง 600-1,800 ปีมาแล้ว แสดงให้เห็นว่าเทคนิคการวิเคราะห์อายุทั้งแบบ TL และ OSL มีความเหมาะสม สามารถใช้ได้ดีกับการกำหนดอายุโบราณสถานที่สร้างด้วยอิฐ นอกจากนี้ ข้อมูลดังกล่าว สามารถใช้ในการพิสูจน์สมมติฐานการก่อสร้างโบราณสถานดังกล่าวที่ ย้อนไปถึงสมัยเชียงแสน และอาจจะมีการบูรณะ ต่อเติม เรื่อยมาจนถึงสมัยอยุธยาตอนต้น