Skip to content

FAQs: Agriculture

Frequently Asked Questions about Agriculture research
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับงานวิจัยด้านเกษตร

Plant Mutation Breeding งานปรับปรุงพันธุ์พืชด้วยการกลายพันธุ์

การปรับปรุงพันธุ์พืชด้วยการกลายพันธุ์คืออะไร What is plant mutation breeding?

การปรับปรุงพันธุ์พืชด้วยการกลายพันธุ์ เป็นเทคนิคที่ใช้วิธีการทางเคมีหรือกายภาพเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นเองในพืชเพื่อพัฒนาพันธุ์พืชใหม่ “การกลายพันธุ์” เป็นที่มาของการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมส่วนใหญ่และเป็นกลไกแห่งวิวัฒนาการ การกลายพันธุ์เป็นกระบวนการทางธรรมชาติซึ่งเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ตามธรรมชาติในคน พืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตทุกชนิด มันเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง DNA ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาการเปลี่ยนแปลงภายในสิ่งมีชีวิต การกลายพันธุ์อาจเร่งให้เร็วขึ้นโดยวิธีทางเคมีหรือกายภาพ เช่น การใช้รังสีเพื่อให้ได้คุณลักษณะที่เป็นประโยชน์ เช่นในด้านเกษตรกรรม

Plant mutation breeding (PMB) is a technique that use chemical or physical means to induce spontaneous genetic variation in plants to develop new crop varieties. “Mutation” is the source of most genetic variation and the motor of evolution. Mutation is a natural process, which occurs spontaneously and slowly — over generations — in people, plants, animals and all living beings. It involves alteration of their DNA, leading to the development of changes within the organism. Mutation may be sped up by chemical or physical methods, such as the use of radiation to achieve characteristics that are useful in, for example, agriculture.

รังสีช่วยให้พืชมีการวิวัฒนาการเร็วขึ้นได้อย่างไร How does radiation make plants evolve faster?

การฉายรังสีเป็นการเร่งกระบวนการกลายพันธุ์ธรรมชาติ โดยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน DNA ซึ่งเพิ่มอัตราการกลายพันธุ์ขึ้นเป็น 1,000 ถึง 1 ล้านเท่าตัว ซึ่งนำไปสู่การปรับปรุงพันธุ์พืชที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และเพิ่มความหลากหลายของพันธุ์พืชในเวลาที่สั้นลง

Exposure to radiation accelerates natural mutation process. Irradiation induces changes in DNA, boosting mutation rates by 1,000 to 1 million-fold, which enables breeding plants more effectively and producing more crop variations in shorter time.

พืชที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ด้วยวิธีการฉายรังสี จัดเป็นพืช GMOs หรือไม่

ไม่เป็นพืช GMOs เนื่องจากการฉายรังสีเป็นการปรับปรุงพันธุ์แบบกายภาพ รังสีจะเข้าไปก่อให้เกิดความเสียหายของสารพันธุกรรมของพืชนำไปสู่การกลายพันธุ์ ส่วนพืช GMOs นั้นเป็นการเอาสารพันธุกรรมจากสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งเข้าไปยังพืชอีกชนิดหนึ่ง

การฉายรังสีปรับปรุงพันธุ์พืช จะมีสารรังสีตกค้างในพืชหรือไม่

ไม่มีรังสีตกค้างในพืช เพราะเมื่อเอาพืชออกมาจากเครื่องฉายรังสี รังสีไม่ได้ติดค้างมาด้วย

ชิ้นส่วนใดของพืช ที่นิยมนำมาฉายรังสีเพื่อปรับปรุงพันธุ์พืช

ทุกส่วนของพืชที่สามารถขยายพันธุ์เพื่อเพิ่มจำนวนได้ เช่น หัว เหง้า หน่อ ลำต้น ตาข้าง ปลายยอด เมล็ด เป็นต้น นอกจากนี้เนื้อเยื่อเพาะเลี้ยงในขวดก็สามารถฉายได้เช่นกัน

การฉายรังสีเพื่อปรับปรุงพันธุ์พืช มีโอกาสได้พืชพันธุ์กลายมากน้อยเพียงไร

การปรับปรุงพันธุ์พืชด้วยการฉายรังสี เป็นวิธีการสร้างพืชพันธุ์กลายแบบสุ่ม ไม่สามารถบอกถึงโอกาสที่จะได้พืชพันธุ์ใหม่ว่ามากน้อยเพียงไร ดังนั้นจึงต้องฉายรังสีตัวอย่างพืชให้มากๆ เพื่อให้มีโอกาสพบพืชกลายพันธุ์ได้มากขึ้น

หากสนใจนำพืชมาฉายรังสี จะมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ จะติดต่อได้อย่างไร

สามารถติดต่อสอบถามมายังนักวิจัยด้านการปรับปรุงพันธุ์พืช หรือ One STOP service ของสถาบัน

Sterile Insect Technique เทคนิคแมลงหมัน

อะไรคือ sterile insect technique?

Sterile Insect Technique (SIT) หรือเทคนิคแมลงหมัน เป็นวิธีการที่ใช้ในการควบคุมหรือกำจัดประชากรแมลงศัตรูพืช โดยเกี่ยวข้องกับการเลี้ยงแมลงจำนวนมาก (mass rearing) ในห้องปฏิบัติการและใช้การฉายรังสีเพื่อทำหมันแมลง แมลงที่เป็นหมันแล้วจะถูกปล่อยออกสู่พื้นที่เป้าหมายซึ่งเป็นแหล่งผสมพันธุ์กับแมลงป่า เนื่องจากแมลงที่ปล่อยออกมานั้นเป็นหมัน จึงไม่สามารถให้กำเนิดลูกหลานได้ ส่งผลให้จำนวนประชากรลดลง (population suppression) เมื่อเวลาผ่านไป เป็นทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่ายาฆ่าแมลงที่เป็นสารเคมี

แมลงชนิดใดบ้างที่ SIT สามารถใช้ด้วยได้

SIT มักถูกนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน และประสบความสำเร็จในการควบคุมแมลงศัตรูพืชต่างๆ ที่เป็นภัยคุกคามต่อการเกษตร สาธารณสุข และระบบนิเวศ สัตว์รบกวนดังกล่าว ได้แก่ แมลงวันผลไม้และยุง

การกำจัดแมลงวันผลไม้ใช้วิธีการอย่างไร

การกำจัดแมลงวันผลไม้ในสวนสามารถใช้หลายวิธีร่วมกัน เช่น การใช้สารเคมี การห่อผล การทำความสะอาดสวน การใช้กับดักฟีโรโมน การใช้เหยื่อโปรตีน การใช้เมลงเป็นหมัน เป็นต้น

แมลงวันบ้านและแมลงวันผลไม้ต่างกันอย่างไร

รูปร่างแตกต่างกัน แมลงวันบ้านมีสีดำแหล่งอาหารจะอยู่ตามบ้านเรือนหรือกองขยะ ส่วนแมลงวันผลไม้มีสีน้ำตาล ปีกใสคล้ายผึ้งอาศัยตามต้นไม้ใหญ่

ทำไมพบแมลงวันผลไม้บริเวณต้นกระเพรา

ใบกระเพรามีสารเมทธิลยูจินอลจากธรรมชาติที่แมลงวันผลไม้เพศผู้นำมาใช้สร้างฟีโรโมนเพื่อผสมพันธุ์ นอกจากนี้ยังมีในดอกเดหลีใบกล้วย ตะไคร้ เป็นต้น

แมลงวันผลไม้ที่เป็นหมันสามารถนำไปปล่อยในสวนได้เลยหรือไม่

ใบกระเพรามีสารเมทธิลยูจินอลจากธรรมชาติที่แมลงวันผลไม้เพศผู้นำมาใช้สร้างฟีโรโมนเพื่อผสมพันธุ์ นอกจากนี้ยังมีในดอกเดหลีใบกล้วย ตะไคร้ เป็นต้น

แมลงที่เป็นหมันขายอย่างไร

แมลงที่เป็นหมันเพศผู้ราคาตัวละ 50 สตางค์

ติดต่อให้เข้าไปทำโครงการในพื้นที่สวนได้อย่างไร

ประสานกับเกษตรตำบลหรือเกษตรอำเภอในพื้นที่ใกล้เคียงหรือรวมตัวเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและแจ้งมายังสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ

วิธีการกำจัดแมลงวันผลไม้ที่ได้ผลดีที่สุด

ห่อผล

แมลงวันผลไม้ที่ต่อยผลไม้เป็นเพศผู้หรือเพศเมีย

เป็นเพศเมียเพราะมีอวัยวะวางไข่ที่ก้นเป็นเข็มแหลมคล้ายผึ้ง โดยจะแทงลงไปวางไข่บริเวณผิวของผลไม้

แมลงเป็นหมันมีรังสีปนเปื้อนหรือไม่

ไม่มีรังสีปนเปื้อนเนื่องจากรังสีที่ใช้เป็นพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าคล้ายไมโครเวฟที่อุ่นอาหาร มีความปลอดภัย

แมลงวันผลไม้มีอายุกี่เดือน

1-3 เดือน

แมลงวันผลไม้มีวงจรชีวิตอย่างไร

แมลงวันผลไม้มีวงจรชีวิตแบบสมบูรณ์คือมีระยะไข่ หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย คล้ายผีเสื้อ

แมลงวันผลไม้ระยะไหนทำลายผลไม้

ระยะหนอน

แมลงวันพริกใช้กับดักเมทธิลยูจินอลได้หรือไม่

แมลงวันพริกเป็นแมลงวันผลไม้ที่ลงทำลายพืชตระกูลพริก มะเขือ เป็นแมลงคนละชนิดกับที่ลงทำลายผลไม้การใช้กับดักเมทธิลยูจินอลจึงใช้ไม่ได้ผลควรใช้กับดักกาวเหนียวจะได้ผลดีกว่า

ทำไมสารล่อเมทธิลยูจินอลที่ขายตามร้านค้าเกษตรจึงดักแมลงวันผลไม้ไม่ได้ผล

ต้องผสมสารกำจัดแมลง เช่น มาลาไทออนเข้าไปด้วย (อัตราส่วน เมทธิลยูจินอล 3-4 ส่วน ต่อ มาลาไทออน 1 ส่วน)


Updated: 2024