Skip to content

NAA Lab

ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ด้วยการอาบนิวตรอน
Neutron Activation Analysis Lab. : NAA

เครื่องมือ

  • ระบบอาบนิวตรอนของเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย
  • ระบบวัดรังสีแกมมาแบบ HPGe

วัตถุประสงค์

  • วิเคราะห์ชนิดของธาตุและปริมาณธาตุในตัวอย่างด้วยเทคนิคการอาบนิวตรอน

สถานที่

  • อาคาร 12 (อาคารปฏิกรณ์) ชั้น 2 สทน. จตุจักร กรุงเทพฯ

ติดต่อ

  • ศูนย์เครื่องปฏิกรณ์

naa-reactor

เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย ต้นกำเนิดนิวตรอนสำหรับงาน NAA

naa-hpge-detector

ระบบวัดรังสีแกมมาแบบสารกึ่งตัวนำ HPGe ใช้วัดรังสีแกมมาจากตัวอย่างที่อาบนิวตรอนแล้ว

วิธีการวิเคราะห์

การวิเคราะห์โดยการอาบนิวตรอน เป็นเทคนิคการวิเคราะห์ชนิดของธาตุและปริมาณธาตุในตัวอย่าง โดยการทำให้ไอโซโทปเสถียร กลายเป็นไอโซโทปรังสี ซึ่งจะสลายตัวกลับเป็นไอโซโทปเสถียร โดยการปลดปล่อยรังสีที่มีพลังงานจำเพาะของแต่ละไอโซโทปออกมา

ตัวอย่างที่อาบนิวตรอน (neutron irradiation) จะทำให้นิวเคลียสของธาตุในตัวอย่างดูดกลืนนิวตรอน แล้วกลายเป็นสารกัมมันตรังสี เรียกว่า นิวไคลด์รังสี (radionuclide) หรือไอโซโทปรังสี (radioisotope) ซึ่งมีการสลายตัว โดยปลดปล่อยรังสีอัลฟา รังสีบีตา หรือรังสีแกมมา ที่มีพลังงานของรังสี และครึ่งชีวิตของไอโซโทปที่เป็นค่าจำเพาะ

naa001
ปฏิกิริยาจับนิวตรอน (Neutron capture) ทำให้นิวเคลียสเสถียรกลายเป็นนิวเคลียสกัมมันตรังสี
การวิเคราะห์โดยการอาบ นิวตรอน เป็นเทคนิคการวิเคราะห์ที่มีความไวสูง สามารถวิเคราะห์เพื่อหาธาตุที่มีปริมาณน้อย (trace elememnt) ได้ดี ให้ความแม่นยำสูง จึงเป็นเทคนิคที่มีการนำมาประกอบการวิเคราะห์ธาตุ ในสารมาตรฐานโดยทั่วไป การวิเคราะห์โดยการอาบนิวตรอน สามารถวิเคราะห์ได้โดยไม่ทำลายตัวอย่าง มีการนำมาใช้ในการวิเคราะห์ปริมาณธาตุ ในตัวอย่างหลายประเภท เช่น การวิเคราะห์ปริมาณแร่ธาตุในตัวอย่างทางธรณีวิทยา การวิเคราะห์ปริมาณธาตุเพื่อจัดกลุ่มตัวอย่างทางโบราณคดี การวิเคราะห์ธาตุในตัวอย่างทางการแพทย์ การเกษตร อุตสาหกรรม และทางด้านสิ่งแวดล้อม

ข้อจำกัด

ตัวอย่างที่อาบนิวตรอนแล้วจะมีกัมมันตภาพรังสี ผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องผ่านการอบรมด้านการป้องกันอันตรายจากรังสีหรือการ ใช้งานสารรังสี ชิ้นงานที่มีกัมมันตภาพรังสีอายุยาว สทน.จำเป็นต้องส่งไปศูนย์จัดการกากกัมมันตรังสีเพื่อบำบัดหรือจัดเก็บ