การปรับปรุงพันธุ์พืชด้วยรังสี เป็นการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์พืชโดยการใช้รังสีในการเหนี่ยวนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม เพื่อชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ เพิ่มความหลากหลายและลักษณะบางประการให้ดีขึ้น เช่น ความสามารถในการทนโรค ทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ ให้ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น เป็นต้น แล้วคัดเลือกลักษณะที่ต้องการ และทำการทดสอบพันธุ์กลายที่ได้ เพื่อดูความคงตัวของพันธุ์ที่ได้ โดยรังสีที่ใช้ในการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ในพืช ได้แก่ รังสีแกมมา นิวตรอน หรืออิเล็กตรอน ซึ่งสามารถใช้ได้กับส่วนขยายพันธุ์ต่างๆ ของพืช เช่น เมล็ด กิ่งตา หน่อ ไหล เป็นต้น หรือการฉายชิ้นส่วนพืชที่อยู่ในขวดเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ก็สามารถทำได้เช่นกัน
ทั้งนี้ การใช้เทคนิคการเหนี่ยวนำให้เกิดการกลายพันธุ์ในพืชด้วยรังสีนั้น เป็นการเหนี่ยวนำแบบสุ่ม ไม่สามารถกำหนดได้ โดยมีประโยชน์ในด้านการเพิ่มอัตราการเกิดการกลายพันธุ์ให้มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นกว่าการเกิดการกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
ตัวอย่างงานวิจัย
- การพัฒนาพันธุ์ข้าว เพื่อทนต่อสภาพดินเปรี้ยว
- การพัฒนาพันธุ์ข้าว เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ
- การพัฒนาพันธุ์พริกต้านทานโรคแอนแทรคโนส
- การปรับปรุงพันธุ์ทิวลิปให้ครบวงจรการผลิตในประเทศไทย
- การชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ในบัว
- การปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ
- การปรับปรุงพันธุ์กัญชงและกัญชา
สนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อนักวิจัย:
วิชัย ภูริปัญญวานิช (ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์)
ปิยนุช อ้อพงษ์ (นักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์)
ละมัย ใหม่แก้ว (นักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์)
มยุรี ลิมติยะโยธิน (นักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์)