Skip to content

Meeting Report: I-SEEC2021 (Sirilak, Jun 2021)

The 11th International Science, Social Sciences, Engineering and Energy Conference

24-25 Jun 2021

by ศิริลักษณ์ ชูแก้ว

รูปแบบ Online platform
นำเสนอโปสเตอร์ใน Track I Science and engineering หัวข้อ Biology and Biotechnology เรื่อง Comparison of Gamma rays and X-ray on Color, Microbiological Quality and Biochemical Constituents of Thanaka Powder

ในภาพรวมงานประชุมต้องการให้ผู้เข้าประชุมแลกเปลี่ยน และแบ่งปันประสบการณ์ในงานวิจัยด้านที่สนใจ โดยงานประชุมแบ่งเป็น TRACK I : SCIENCE AND ENGINEERING และ TRACK II : SOCIAL SCIENCE ซึ่งหัวข้อที่สนใจจะอยู่ใน Track I หัวข้อ Biology and Biotechnology และ Food Processing Technology and Innovation

เนื้อหาที่ได้ร่วมฟังเกี่ยวกับฤทธิ์ของสารสกัดจากพืชและสมุนไพร และอาหาร เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องของกลุ่มงาน และจะนำมาพิจารณาความเป็นไปได้ในการนำรังสีมาประยุกต์ใช้ร่วมในหัวข้อต่างๆที่สนใจ ในส่วนของฤทธิ์จากสารสกัดต่างๆ ได้แก่สารสกัดสารจากเปลือกกล้วย มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพซึ่งสามารถประเมินได้จากค่า Total phenolic content, IC50 และค่า antibacterial activity ของเชื้อ E. coli และ S. aureus การทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดหยาบจากว่านสาวหลง 2 รูปแบบ คือ แบบผงแห้ง (Wan Sao Long are dried, SL) และแบบเหลือทิ้งจากการสกัดน้ำมันหอมระเหย (Waste of Wan Sao Long from essential oil distillation, WSL) พบว่า มีฤทธิ์ต้านอนุมูลฮิสระ อีกทั้งมี Total phenolic และ total flavonoids ค่อนข้างสูง เหมาะแก่การนำสารสกัดเพื่อผลิตเป็นเวชสำอางค์ อีกทั้งในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีการใช้สารสกัดจากสัปรดเพื่อย่อยโปรตีนในอาหารเพื่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทดแทนสารเคมีสังเคราะห์

ในส่วนของอาหารมีการแปรรูปอาหาร และศึกษากระบวนการผลิตเพื่อลดการใช้สารเคมี และเพิ่มมูลค่า ได้แก่การเติมสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ได้แก่ ascorbic acid, gallic acid และ calcium lactate ไปในมะม่วงแปรรูปโดยอาศัยหลักการออสโมซิส เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่า ลดการสูญเสียปริมาณน้ำในชิ้นผลไม้ และมีอายุการเก็บนานขึ้น การเพิ่มมูลค่า และคุณค่าด้านโภชนาการในข้าวเหนียว กข6 ด้วยการแช่ในสารสกัดจากดอกเฟื่องฟ้าสามารถทำให้สีของเมล็ดข้าวเหนียวดูน่าทานและยังมีประโยชน์อีกด้วย