การฝึกอบรมและพัฒนาความรู้ “สร้างนักวิจัยให้มีศักยภาพในการวิจัยไม้ดอกไม้ประดับสู่ตลาดโลก”
15 Dec 2020
by Mayuree Limtiyayothin
วัตถุประสงค์
รับฟังการเสวนาและการบรรยายประสบการณ์การทำงานวิจัยจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยไม้ดอกไม้ประดับ เพื่อให้นักวิจัยรุ่นใหม่สามารถนำมาปรับใช้กับการทำงานวิจัยในปัจจุบัน
การเสวนา “แนวทางการวิจัยและพัฒนาไม้ดอกไม้ประดับสู่ตลาดโลก”
โดย ผศ.ดร.จันทรวิภา ธนะโสภณ ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
รศ.ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์ ข้าราชการบำนาญ (อาจารย์ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
รศ.ดร.นพมณี โทปุญญานนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิ สวก. และ วช.
- การเลือกหัวข้อในการทำงานวิจัย
ในการเริ่มการทำงานวิจัยเกี่ยวกับไม้ดอกไม้ประดับต้องทราบถึงปัญหาและแนวโน้มการนำมาใช้ประโยชน์ก่อน เช่น การสำรวจปัญหา รับฟังปัญหา จากเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อนำมากำหนดโจทย์ในการทำงานวิจัย ให้ได้โครงการวิจัยที่มีคุณภาพสามารถยื่นขอรับทุนอุดหนุนจากหน่วยงานให้ทุน เช่น วช. และ สวก. ได้ การเพิ่มโอกาสที่จะได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจะต้องเลือกทำงานวิจัยที่เป็นปัญหาหลักหรือปัญหาเร่งด่วน ณ ปัจจุบันก่อน จะทำให้ได้รับเลือกพิจารณาในลำดับต้นๆ และต้องมีการเขียนเรียบเรียงให้เข้าใจง่าย ทราบถึงปัญหา ทราบวิธีการทดลองที่ใช้ชัดเจน ผลผลิตของโครงการที่ชัดเจนและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง ถ้ามีผู้ที่จะรับผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ร่วมในโครงการด้วยจะยิ่งมีโอกาสในการได้รับทุนเพิ่มมากขึ้น - แนวทางการปฎิบัติเมื่อได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยจากแหล่งให้ทุนแล้ว
เมื่อได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยแล้วควรปฎิบัติตามสัญญาทุนอย่างเคร่งครัด การรายงานผลการวิจัยต้องส่งตรงตามกำหนดการ - การนำเสนอผลงานวิจัยด้านไม้ดอกไม้ประดับที่ประสบความสำเร็จจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
- การเพาะเลี้ยงเบญจมาศปลอดโรคโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและการส่งเสริมสู่แปลงเกษตรกร
- การปรับปรุงพันธุ์ไทร