สิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการกระตุ้นนวัตกรรมและความสร้างสรรค์โดยการมอบสิทธิ์ให้ผู้สร้างและผู้คิดค้นสิ่งต่าง ๆ ทรัพย์สินทางปัญญามีหลายประเภท เช่น สิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร ลิขสิทธ์ เครื่องหมายการค้า พันธุ์พืช โดย สทน. ได้มี IP ที่หลากหลายอันเกี่ยวข้องกับงานวิจัยและบริการดังนี้
Intellectual property (IP) rights are essential for encouraging innovation and creativity by granting creators and inventors the ability to benefit from their work. IP has many types, such as patents, petty patents, copyrights, trademarks, and plant varieties. TINT has various IPs related to research conducted and services provided as follows.
Name | Description (brief) | Photo |
---|---|---|
แผ่นไฮโดรเจลพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ผสมน้ำวุ้นว่านหางจระเข้ | ว่านหางจระเข้เป็นสมุนไพรที่เป็นที่รู้จักด้านสรรพคุณการบำรุงผิวมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการรักษาแผลไหม้ โดยสารสำคัญมีฤทธิ์ด้านการบำรุงผิวอยู่ในส่วนของเนื้อวุ้นด้านใน อย่างไรก็ดีเนื้อวุ้นเมื่อสัมผัสกับอากาศภายนอกแล้ว จะถูกออกซิไดส์โดยง่าย ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของสารออกฤทธิ์ รวมถึงการขึ้นราและเน่าเสีย ดังนั้นการแปรสภาพวุ้นว่านหางจระเข้จากธรรมชาติให้อยู่ในรูปของแผ่นไฮโดรเจลพร้อมใช้งาน จึงเป็นทางเลือกใหม่สำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์บำรุงผิวจากว่านหางจระเข้ธรรมชาติ | |
แผ่นไฮโดรเจลที่มีความหยืดหยุ่นและสามารถหด-ขยายรูปร่างระหว่างสภาวะแห้งและสภาวะบวมน้ำและกรรมวิธีสำหรับการผลิต | แผ่นไฮโดรเจลที่มีส่วนผสมของพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ พอลิไวนิลไพโรลิโดน และน้ำภายในโครงสร้าง มีความยืดหยุ่น สามารถหดตัวเมื่ออบด้วยความร้อน และขยายรูปร่างคืนสู่สภาพแผ่นตั้งต้นได้อีกครั้งภายหลังการบวมน้ำ เหมาะสำหรับนำมาใช้เป็นแผ่นบรรจุสารสำคัญที่ละลายในน้ำเพื่อนำส่งเข้าสู่ร่างกาย | |
รางเลื่อนกระปุกตะกั่วบรรจุสารรังสี | รางเลื่อนกระปุกตะกั่วบรรจุสารรังสี ทำจากจากสแตนเลสสตีล มีโครงสร้างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ประกอบด้วยที่วางกระปุกตะกั่วบรรจุสารรังสีมีลักษณะเป็นวงกลม ถัดจากที่วางกระปุก เป็นที่ล็อกกระปุก โดยตัวล็อกเชื่อมกับด้ามจับสำหรับขยายขนาดที่วางกระปุกตะกั่วสำหรับบรรจุสารรังสี มีลวดสปริงสสำหรับยืดหดขณะขยายขนาดที่วางกระปุกทำให้สามารถวางกระปุกตะกั่วรังสีได้หลายขนาดโดยไม่ต้องเปลี่ยนถ่าย ประหยัดเวลาตลอดจนเพิ่มความปลอดภัยทางรังสีสำหรับผู้ปฏิบัติงาน | |
กรรมวิธีการผลิตต้นแบบตัวดูดซับจากไดอะตอมไมต์ด้วยเทคนิคทางนิวเคลียร์ สำหรับใช้บำบัดสีย้อมชนิดเบสิกในน้ำเสีย | การผลิตต้นแบบตัวดูดซับจากไดอะตอมไมต์ด้วยเทคนิคทางนิวเคลียร์ ใช้สำหรับดูดซับสีย้อม โดยใช้รังสีแกมมาพลังงานสูงในการกระตุ้นให้เกิดการแตกตัวของพันธะเคมีบางส่วนในไดอะตอมไมต์และสารประกอบเชิงซ้อนบางชนิด ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซับ | |
ตู้ผลิตไอโอดีน-131 เอ็ม ไอ บี จี สำหรับการรักษามะเร็ง | การปรับปรุงตู้ผลิตไอโอดีน-131 เอ็ม ไอ บี จี เดิมเพื่อให้สามารถรองรับงานบริการได้เพิ่มขึ้น มีความปลอดภัยสำหรับผู้ปฏิบัติงานและมีระบบการผลิตไอโอดีน-131 เอ็ม ไอ บี จี ที่สอดคล้องตามมาตรฐานจีเอ็มพี (GMP) | |
กรรมวิธีการเตรียมเจลและแผ่นก๊อซที่มีส่วนผสมของสารพฤกษเคมีจากขมิ้นชันสำหรับใช้เป็นวัสดุสมานแผล | ขมิ้นชันเป็นพืชท้องถิ่นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่รู้จักกันทั่วไปในรูปของเครื่องเทศสำหรับการประกอบอาหาร สารพฤษเคมี เคอร์คูมิน (curcumin) ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มของสารเคอร์คูมินอยต์ ที่มีในขมิ้นชัน ยังมีฤทธิ์เป็นยาที่สามารถต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ และการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเหมาะต่อการประยุกต์ในการนำมาสมานแผล | |
กรรมวิธีการขึ้นรูปแผ่นฟิล์มจากสารละลายไคโตซาน ผงเซริซิน ผงไฟโบรอิน และพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ด้วยการฉายรังสีแกมมาสำหรับใช้เป็นวัสดุปิดแผล | การฉายรังสีเป็นเทคโนโลยีนิวเคลียร์ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ขึ้นรูปวัสดุได้หลายชนิด โดยรังสีจะเหนี่ยวนำให้เกิดการเชื่อมขวาง (crosslinking) ของโมเลกุล ทำให้เกิดโครงสร้างที่มีลักษณเป็นโครงร่างแหขึ้นภายในวัสดุ สำหรับการขึ้นรูปชีววัสดุทางการแพทย์ | |
กรรมวิธีการผลิตยางโดยใช้ซิลิกาดัดแปรซึ่งได้จากกระบวนการฉายรังสีแกมมา เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติ | ปัจจุบันมีสารเติมแต่งหลายชนิดที่ถูกเติมลงไปในยาง (rubber) เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติให้เหมาะสมกับการนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์ทางการค้าที่หลากหลาย | |
อุปกรณ์ผลิตไอโซโทปรังสี ระบบสตรอนเซียม-90/อิตเตรียม-90 เจเนอเรเตอร์ โมดุล | ได้มีการพัฒนากระบวนการผลิตสารละลายไอโซโทปรังสีอิตเตรียม-90/สตรอนเซี่ยม-90 ซึ่งประกอบด้วย อุปกรณ์ปั้มพร้อมวาล์วปิด-เปิด ท่อนำสารละลาย ท่อดูดสูญญากาศสำหรับ อิตเตรียม ท่อดูดสูญญากาศสตรอนเซี่ยม อุปกรณ์ทำระเหยกรดอิตเตรี่ยม อุปกรณ์ทำระเหยกรดสตรอนเซี่ยม อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ อุปกรณ์ปั้มเพอร์ริสทอติก | |
วัสดุปิดแผลชนิดไฮโดรเจลผลิตจากสารพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ซึ่งมีสารฟิโบรอินจากใยไหมเป็นส่วนประกอบโดยการฉายรังสี | ได้มีการดำเนินการสร้างไฮโดรเจลขึ้นมาจากสารพอลิไวนิลแอลกอฮอล์และฟิโบอินจากใยไหมมาผสมกัน จากนั้นนำเทคโนโลยีนิวเคลียร์มาประยุกต์ใช้ โดยการนำไปผ่านการฉายรังสีเพื่อให้เกิดการเชื่อมขวางของห่วงโซ่โมเลกุล และเกิดเป็นคุณสมบัติยืดหยุ่นสามารถปรับรูปร่างได้จะเป็นทรงเหลี่ยมหรือทรงกลมตามขนาดที่ต้องการได้ | |
สูตรไอศกรีมผสมผงไหม และกรรมวิธีการผลิตตามสูตรดังกล่าว | นักวิจัยสทน.ดำเนินการทดลองทำสูตรการผลิตที่มีอัตราส่วนการผสมโดยเนื้อไอศกรีมที่ใช้ผงไหมอันเป็นสารประกอบอินทรีย์ มาใช้เป็นสารให้ความคงรูปแทนสารอีมัลซิไฟออร์ เพื่อให้มีความหนืด ความคงรูป ไม่เหลวและละลายเร็วจนเกินไป และมีคุณค่าทางโภชนาการโปรตีนในส่วนที่นมผงไม่มีอีกด้วย | |
กระบวนการทำให้ไตรโซเดี่ยมฟอสเฟตซึ่งสกัดได้จากแร่โมนาไซต์ให้มีความบริสุทธิ์เพิ่มขึ้น | ได้มีการพัฒนากระบวนการสกัดไตรโซเดี่ยมฟอสเฟตให้มีความบริสุทธิ์มากขึ้น หรือ ให้มีไอออนยูเรเนียมเจือปนน้อยที่สุด | |
สารเร่งการเจริญเติบโตของพืชที่ได้จากรังไหมและกรรมวิธีการผลิต | การนำรังไหมไปสกัดซึ่งทำให้ได้สาร 2 ชนิด โดยจะเป็นสารสำคัญ คือ ซิริซิน (Sericin) และไฟโบรอิน (Fibroin) ซึ่งเป็นสารโปรตีนที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆได้มากมาย เช่น การนำไปผสมในเครื่องสำอางต่างๆ ช่วยให้ผิวชุ่มชื่น ไปผสมในอาหารหรือเครื่องดื่มช่วยเพิ่มโปรตีนในอาหาร เป็นต้น | |
สูตรไส้กรอกอีสานไหมทอง และกรรมวิธีการผลิตตามสูตร | นำรังไหมมาฉายรังสี และสามารถผลิตโปรตีนไหม (Silk Peptide) ซิริซีน ในรูปแบบผงไหมได้เป็นผลสำเร็จ โดยยังมีคุณค่าโปรตีน ซึ่งมีกรดอะมีโนมากถึง 18 ชนิด เช่น Glycine Leucine Serine Phenylalanine Proline และ Tyrosine เป็นต้น นักวิจัย สทน.ได้คิดค้นสูตรการผลิตไส้กรอกอีสาน โดยนำผงไหมมาเป็นส่วนผสมเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ โปรตีน โดยยังคงมีเนื้อสัมผัสที่แน่นและหวานอร่อยตามธรรมชาติ ลดการใช้สารปรุงแต่งลงเช่นสารทำให้เนื้อแน่นเพิ่มความปลอดภัยต่อผู้บริโภค | |
สูตรหลามหมูยอไหมทอง และกรรมวิธีการผลิตตามสูตร | ดำเนินการทำเป็นสูตรการผลิตหลามหมูยอไหมทอง ซึ่งนำผงไหมมาเป็นส่วนผสมในหมูยอ เพื่อให้หมูยอมีรสชาติที่อร่อย มีเนื้อสัมผัสที่แน่นและกรอบ ในอัตราส่วนการผสมที่กำหนดไว้ตามสูตร นอกจากจะสามารถลดการใช้สารฟอสเฟตลงแล้วยังเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการได้อีกด้วย | |
สูตรลูกชิ้นหมูไหมทอง และกรรมวิธีการผลิตตามสูตร | นำรังไหมที่ไม่ได้ใช้แล้ว มาทดลองฉายรังสีและสามารถผลิตโปรตีนไหม (Silk Peptide) ซิริซีน ในรูปแบบผงไหมได้เป็นผลสำเร็จ โดยยังมีคุณค่าโปรตีน ซึ่งมีกรดอะมีโนมากถึง 18 ชนิด การทดลองนำผงไหมมาผสมนี้ เพื่อให้ได้ลูกชิ้นหมูที่มีคุณค่าโภชนาการจากโปรตีนและปลอดภัยต่อผู้บริโภค พัฒนาสูตรการผลิตขึ้นมาได้ชื่อว่า “สูตรลูกชิ้นหมูไหมทอง” โดยการลดสารเคมีที่ใส่ลงไปขณะที่ยังคงมีเนื้อสัมผัสที่แน่น กรอบ และมีรสชาติอร่อยด้วย | |
กรรมวิธีการผลิตแผ่นไฮโดรเจลประคบร้อน-เย็นและแผ่นไฮโดรเจลประคบร้อน-เย็นที่ได้จากกรรมวิธีการดังกล่าว | การรักษาแผลฟกช้ำนั้นทำได้โดยการประคบน้ำแข็ง ทายาลดรอยฟกช้ำ ซึ่งอาจจะทำให้ไม่สะดวกในการรักษาในชีวิตประจำวัน เนื่องจากบางครั้งต้องประคบตลอดเวลา ทำให้รอยฟกช้ำนั้นหายช้าไปกว่าเดิม จึงได้พัฒนาแผ่นไฮโดรเจลเจลประคบร้อน-เย็น เพื่อพัฒนาแผ่นไฮโดรเจลที่มีประสิทธิภาพ และมีคุณสมบัติลดรอยฟกช้ำ | |
สูตรเจลล้างมือชนิดไม่ต้องล้างออกที่มีส่วนผสมของผงไหมซิริซีนและกรรมวิธีการผลิต | มีการนำเทคโนโลยีนิวเคลียร์มาประยุกต์ใช้ สร้างเป็นสูตรเจลล้างมือที่ไม่ต้องล้างออกและมีส่วนผสมของผงไหมซิริซีนเพื่อให้ผิวมือยังคงมีความชุ่มชื้นไม่แห้งตึง โดยมีส่วนประกอบหลัก ได้แก่ เอธิลแอลกอฮอล์ (95%) สารละลายโปรตีนจากผงไหม ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ (70%) ดำเนินการผสมกันและใช้ เครื่องนึงความร้อนและแรงดัน (Autoclave) ร่วมในกระบวนการผลิตด้วย | |
สูตรผลิตแผ่นเจลลอกสิวเสี้ยนจากผงไหมซิริซีนและกรรมวิธีผลิต | ได้มีการคิดค้นสูตรผลิตแผ่นเจลลอกสิวเสี้ยนขึ้น แต่ที่ไม่ธรรมดา คือ การผสมผงไหมซิริซีนที่ผ่านการฉายรังสีแล้วมาเป็นส่วนผสมสำคัญ เพื่อที่โปรตีนจากผงไหมมีคุณสมบัติของการต้านการอักเสบ ยับยั้งการเกิดสิว และบำรุงผิวไปด้วย นอกเหนือจากการลอกสิวเสี้ยนเพียงอย่างเดียว | |
ชุดอุปกรณ์ทำระเหยกรดซึ่งติดตั้งภายในอุปกรณ์ระบบสตรอนเซียม-90/อิตเตรียม/90 เจเนอเรเตอร์ โมดุล ในการผลิตไอโซโทปรังสีอิตเตรียม-90 | สทน. พัฒนากระบวนการสกัดแยก ไอโซโทปรรังสีอิตเตรียม-90 (Y-90) จากสตรอนเซียม-90 แบบของเหลว ด้วยสารอินทรีย์ โดยสิ่งสำคัญที่ช่วยให้กระบวนการสำเร็จ คือ ชุดสกัดแยกอันประกอบด้วย 1 อุปกรณ์ระเหยกรดอิตเตรียม 2 อุปกรณ์ทำระเหยกรดสตรอนเซี่ยม ทั้งสองอุปกรณ์จะทำงานอย่างเป็นอิสระต่อกัน แต่ทำงานประสานกันเพื่อให้ได้สารไอโซโทปรังสีอิตเตรียม-90 ที่มีความบริสุทธิ์ ให้ความแรงรังสีสูงพอที่จะนำไปใช้เป็นเภสัชรังสีในการบำบัดโรคในทางการแพทย์ รวมทั้งได้สารละลายไอโซโทปสตรอนเซียม-90 นำไปใช้เป็นสารตั้งต้นผลิตไอโซโทปรังสีอิตเตรียม-90 ได้ต่อไป | |
กระบวนการผลิตยาเภสัชรังสี ไอโอดีน-131 ริทูซิแมป(I-131 Rituximab)สำหรับบำบัดรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkins Lymphoma | ได้มีการพัฒนา กระบวนการผลิตยาเภสัชรังสี ไอโอดีน-131 ริทูซิแมป(I-131 Rituximab) ที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพสูงในเวลารวดเร็ว ปลอดภัยและประหยัดค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งยาที่ราคาไม่แพง ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงวิธีการวินิจฉัยและรักษาได้มากขึ้น | |
กระบวนการสกัดแยกไอโซโทปรังสีอิตเทรียม-90 จากสตรอนเซียม-90 แบบของเหลว | สทน.พัฒนากระบวนการสกัดแยก ไอโซโทปรรังสีอิตเทรียม-90 (Y-90) จากสตรอนเซียม-90 แบบของเหลว ด้วยสารอินทรีย์ ได -2- เอทิลเฮกซิล ฟอสฟอริกเอซิด และชุดสกัดแยก ประกอบด้วย ตู้กำบังรังสีที่บรรจุอุปกรณ์ในการแยกไว้ภายใน พร้อมด้วยอุปกรณ์เพิ่มความบริสุทธิ์ด้วยวิธี extraction chromatography เหมาะสำหรับใช้ในการศึกษาวิจัยการเตรียมเภสัชรังสี เพื่อการทดสอบทางการแพทย์ด้านต่างๆ | |
กรรมวิธีทำให้พอลิแลคติคแอซิด (polylactic acid, PLA) กับ แป้งเทอร์โมพลาสติก (thermoplastic starch, TPS) เข้ากันได้ โดยใช้แป้งมันสำปะหลัง | ประเทศไทยสามารถผลิตแป้งมันสำปะหลังได้เป็นจำนวนมากและส่งออกไปโดยทำเป็นแป้งมันส่งออกไปขายทั่วโลก ซึ่งแป้งมันสำปะหลังนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในอุกตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเกษตร เป็นต้น สทน.จึงได้นำมาวิเคราะห์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับแป้งมันสำปะหลังด้วยเทคโนโลยีนิวเคลียร์และได้ดำเนินการทดลองใช้แป้งมันสำปะหลังมาปรับปรุงด้วยการฉายรังสีและนำไปทดลองใช้ในการทำให้พอลิเมอร์ทั้งสองตัวนี้มีความเข้ากันได้ดีและทำให้สมบัติเชิงกลดีขึ้น อย่างเห็นได้ชัด | |
อุปกรณ์ฉายรังสีสำหรับงานตรวจวิเคราะห์โครงสร้างภายในหอกลั่นในโรงงานปิโตรเลียมและปิโตรเคมี | วิธีการตรวจวิเคราะห์หอกลั่นโดยไม่ต้องหยุดดำเนินการ เป็นงานบริการในชื่อว่า “งานบริการตรวจวิเคราะห์หอกลั่น” โดยใช้คุณสมบัติของรังสีแกมมาผ่านตัวกลางภายในหอกลั่น ด้วย “อุปกรณ์ฉายรังสีสำหรับงานตรวจวิเคราะห์โครงสร้างภายในหอกลั่น” ใช้หาจุดที่ผิดปกติที่ต้องซ่อมบำรุงได้แม่นยำ ลดระยะเวลาการซ่อมบำรุงปิดหอกลั่นได้ | |
เครื่องมือทางการแพทย์ (ระบบกำบังรังสี Hot cell) | เครื่อง Isolator เป็นเครื่องมือสำคัญใช้ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับเวชศาสตร์นิวเคลียร์หรือถ้าเป็นการปฏิบัติงานเกี่ยวกับสารเภสัชรังสี ก็จะใช้เครื่อง Hot cell ที่มีใช้ในโรงพยาบาลขนาดเล็กหรือคลินิก แต่เครื่องดังกล่าวมีราคาที่สูงมาก สทน. จึงริเริ่มประดิษฐ์เครื่องดังกล่าวขึ้น โดยใช้ข้อมูลจากความต้องการของหน่วยงาน องค์กรต่างๆที่ต้องใช้งาน นำมาออกแบบให้เหมาะสมกับขนาดพื้นที่ และองค์ประกอบของสถานที่ เช่น การรับน้ำหนักของอาคาร ขนาดพื้นที่ จุดที่จะติดตั้งเป็นต้น จึงได้ Mini Hot Cell หรือ เครื่อง Isolator ที่ตรงกับความต้องการนี้ขึ้นมา | |
กรรมวิธีการผลิตสารละลายไคโตซานโดยการฉายรังสี | สารละลายไคโตซานฉายรังสีที่ประดิษฐ์ขึ้นนี้ จะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชได้อย่างปลอดภัยและมีราคาไม่แพง ยังผลให้เกิดประโยชน์ในการเพิ่มผลผลิตทางอาหารของประเทศที่กำลังพัฒนา โดยใช้ผลผลิตเหลือใช้จากเปลือกกุ้ง กระดองปู และแกนปลาหมึก ซึ่งสามารถหาได้อย่างไม่จำกัดเป็นวัสดุเริ่มต้นกล่าวอย่างสั้นๆว่า สารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชจากไคโตซานสามารถผลิตได้ จากการย่อยสลายไคโตซานด้วยการฉายรังสี | |
อุปกรณ์เฝ้าสังเกตปริมาณรังสีระบบดิจิตอล (Digital Area Monitor) | ได้ดำเนินการศึกษาข้อมูล ออกแบบและประดิษฐ์ อุปกรณ์เฝ้าสังเกตปริมาณรังสีระบบดิจิตอล (Digital Area Monitor) ขึ้นมาเพื่อความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานทางรังสี รวมถึงบุคคลภายนอกที่ไม่ได้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับรังสี ลดความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากรังสี โดยกลุ่มผู้วิจัยได้ออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์นี้ขึ้นมาให้มีคุณภาพเทียบเท่ากับของต่างประเทศ เพื่อลดการนำเข้าและช่วยประหยัดเงินตราของประเทศด้วยอีกทางหนึ่ง | |
เครื่องล้างกระปุกตะกั่วสำหรับบรรจุสารรังสี | สทน.ได้ออกแบบและประดิษฐ์ “เครื่องล้างกระปุกตะกั่วสำหรับบรรจุสารรังสี” ขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ส่งผลให้การหมุนเวียนการใช้กระปุกตะกั่วสำหรับบรรจุรังสีเพียงพอต่อปริมาณการผลิตที่เพิ่มมากขึ้น และลดความเสี่ยงด้านรังสี เพิ่มความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานด้วย | |
พอลิเมอร์ดูดซึมน้ำสูงจากแป้งมันสำปะหลังและกระบวนการผลิตพอลิเมอร์ โดยกระบวนการทางรังสี | อีกหนึ่งความภาคภูมิใจของสทน. เพื่อลดผลกระทบจากภาวะภัยแล้งต่อการเพาะปลูกพืชผลของเกษตรกร ด้วย "พอลิเมอร์ดูดซึมน้ำสูง" ซึ่งใช้แป้งมันสำปะหลัง เป็นวัตถุตั้งต้นในการผลิต เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรของไทยด้วยส่วนหนึ่ง โดยแป้งมันสำปะหลังนี้เป็นพอลิเมอร์ที่มีหมู่ฟังก์ชันที่มีความสามารถดูดซับน้ำและกักเก็บน้ำ นำมาผสมดินเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติให้ดินอุ้มน้ำมากขึ้นในแปลงปลูกพืชที่แห้งแล้ง หรือใช้ผสมกับดินเพื่อปลูกพืชในอาคารบ้านเรือน ช่วยประหยัดทั้งน้ำและเวลาในการรดน้ำได้ | |
อุปกรณ์บรรจุหัววัดรังสีสำหรับงานตรวจวิเคราะห์โครงสร้างภายในหอกลั่นในโรงงานปิโตรเลียมและปิโตรเคมี | สทน.พัฒนาวิธีการตรวจวิเคราะห์หอกลั่นโดยไม่ต้องหยุดดำเนินการได้สำเร็จและจัดให้เป็นงานบริการในชื่อ “งานบริการตรวจวิเคราะห์หอกลั่น” ซึ่งอาศัยคุณสมบัติของรังสีแกมมาที่สามารถทะลุผ่านตัวกลางภายในหอกลั่นและตกกระทบที่ “อุปกรณ์บรรจุหัววัดรังสีสำหรับงานตรวจวิเคราะห์โครงสร้างภายในหอกลั่น” เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ เพื่อให้ทราบจุดที่ต้องทำการซ่อมบำรุงได้อย่างแม่นยำ ถูกต้อง ลดระยะเวลาการซ่อมบำรุง | |
ถาดหลุมบรรจุแคปซูลสำหรับผลิต I-131 แคปซูล | ศูนย์ไอโซโทปรังสี ได้ดำเนินการคิดค้นและประดิษฐ์อุปกรณ์นี้ขึ้นมา สำหรับการผลิต I-131 ชนิดแคปซูล ให้มีประสิทธิภาพทำให้ลดขั้นตอนการผลิตลง ส่งผลให้มีกำลังการผลิตเพิ่มมากขึ้น และลดระยเวลาการผลิตได้ 6-8 เท่า และเพิ่มความปลอดภัยทางรังสีต่อผู้ปฏิบัติงานด้วย | |
กรรมวิธีการสกัดสารพฤกษเคมีจากมะม่วงหาวมะนาวโห่ด้วยรังสีแกมมา | นักวิจัยสทน.พัฒนากรรมวิธีการสกัดสารสำคัญจาก มะม่วงหาวมะนาวโห่ มีชื่อสามัญ Bengal-Currants, Carandas-plum, Karanda โดย ส่วนของพืชที่นำมาทดลองครั้งนี้เป็นการนำผล มะม่วงหาวมะนาวโห่มาทดลองสกัด เพื่อให้ได้มาซึ่งสารสำคัญ ชื่อว่า สารประกอบฟินอลลิก ซึ่งมีประโยชน์ในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต้านการอักเสบ ช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว บรรเทาอาการของโรคตับแข็ง ถุงลมโป่งพองจากการสูบบุหรี่ เป็นต้น | |
เครื่องวัดรังสีแบบมือถือ (Handheld Radiation Monitor) | สทน. ได้ดำเนินการศึกษาข้อมูล ออกแบบและประดิษฐ์เครื่องวัดรังสีแบบมือถือ (Handheld Radiation Monitor)ขึ้นมาให้มีคุณภาพเทียบเท่ากับต่างประเทศ ในราคาที่ย่อมเยาว์ เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานที่อยู่ตามองค์กรต่างๆรวมถึงบุคคลภายนอกด้วย และเพื่อทดแทนการนำเข้าอุปกรณ์จากต่างประเทศ | |
เครื่องวัดความเปรอะเปื้อนทางรังสี | ได้ดำเนินการศึกษาข้อมูล ออกแบบและประดิษฐ์ เครื่องวัดความเปรอะเปื้อนทางรังสี ขึ้นมาเพื่อความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานทางรังสี รวมถึงบุคคลภายนอกที่ไม่ได้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับรังสีลดความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากรังสี โดยกลุ่มผู้วิจัยได้ออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์หัววัดแบบแพนเค้กซึ่งมีพื้นที่หน้าตัดที่กว้างสำหรับรับรังสี, มีหน้าต่างด้านหน้าที่บางสำหรับรับรังสีแอลฟาและเบต้า, มีความไวต่อรังสีมากกว่าหัววัดแบบทั่วไป เพิ่มความสะดวกในการใช้งานในพื้นที่เฉพาะจุดหรือเป็นพื้นที่คับแคบ มีคุณภาพเทียบเท่ากับของต่างประเทศ เพื่อลดการนำเข้าและช่วยประหยัดเงินตราของประเทศด้วยอีกทางหนึ่ง | |
เครื่องวัดรังสีเอ็กซ์ | สทน. ได้ดำเนินการศึกษาข้อมูล ออกแบบและประดิษฐ์ เครื่องวัดรังสีเอ็กซ์ ขึ้นมา ให้มีคุณภาพเทียบเท่ากับต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีราคาย่อมเยาว์ขึ้นมา เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานที่อยู่ตามองค์กรต่างๆรวมถึงบุคคลภายนอกด้วย และเพื่อทดแทนการนำเข้าอุปกรณ์ชนิดนี้จากต่างประเทศซึ่งมีราคาแพงด้วย | |
อุปกรณ์เฝ้าสังเกตปริมาณรังสีแบบหน้าจอสัมผัส | สทน. ได้ดำเนินการศึกษาข้อมูล ออกแบบและประดิษฐ์ อุปกรณ์เฝ้าสังเกตปริมาณรังสีแบบหน้าจอสัมผัส ขึ้นมาเพื่อความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานทางรังสี รวมถึงบุคคลภายนอกที่ไม่ได้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับรังสีลดความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากรังสี โดยกลุ่มผู้วิจัยได้ออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์นี้ขึ้นมาให้มีหนาจอแบบสัมผัส เพิ่มความสะดวกในการใช้งาน มีคุณภาพเทียบเท่ากับของต่างประเทศ เพื่อลดการนำเข้าและช่วยประหยัดเงินตราของประเทศด้วยอีกทางหนึ่ง | |
อุปกรณ์สำหรับหักปลายควอตซ์ที่บรรจุสารตั้งต้นในการผลิตซามาเรียม-153 | สทน. ได้ดำเนินการผลิตสารนี้มาและพบปัญหาในช่วงการเปิดผนึกควอตซ์ โดยจะมีก๊าซไฮโรเจน อยู่ด้วยทำให้การตัดเพื่อเปิดผนึกหลอดดังกล่าวอาจจะทำให้เกิดความร้อนและเกิดการระเบิดได้ จึงได้คิดค้นประดิษฐ์อุปกรณ์หักปลายควอตซ์ที่บรรจุสารตั้งต้นนี้ขึ้นมาเพื่อปลดปล่อยแก๊ซไฮโดรเจนออกมา สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้สำเร็จ ส่งผลให้การเปิดผนึกมีความปลอดภัยสามารถนำสารตั้งต้นมาผลิตซามาเรี่ยม-153 ช่วยทำให้การผลิตมีประสิทธิภาพและยังคงคุณภาพได้ตามมาตรฐาน ลดเวลาการผลิต จัดส่งได้ตามกำหนดนัดหมาย | |
กรรมวิธีการผลิตเส้นใยไฟโบรอินที่มีไคโตซานและนาโนซิลเวอร์เป็นส่วนประกอบ | เป็นกรรมวิธีการผลิตเส้นใยไฟโบรอินที่มีไคโตซานและนาโนซิลเวอร์ที่เป็นส่วนประกอบตาม การประดิษฐ์นี้ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบซึ่งอยู่ในรูปของสารละลาย คือสารละลาย ไฟโบรอิน, สารละลายไคโตซาน และสารละลายนาโนซิลเวอร์ โดยการนำสารละลายทั้งสามผสมกัน ในอัตราส่วนที่เหมาะสม โดยใช้วิธีการปั่นเส้นใยด้วยกระแสไฟฟ้า (electrospinning) จะได้เป็นแผ่น เส้นใยไฟโบรอินที่มีไคโตซานและนาโนซิลเวอร์เป็นส่วนประกอบ | |
กรรมวิธีการผลิตเส้นใยไหมสังเคราะห์ที่มีส่วนประกอบของโปรตีนไหมเซริซินและ โปรตีนไหม ไฟโบรอิน | ประกอบด้วยขั้นตอนการเตรียมวัสดุตั้งต้นซึ่งอยู่ในรูปของสารละลาย คือ สารละลายเซริซิน และสารละลายไฟโบรอิน จากนั้นนำสารละลายทั้งสองดังกล่าวผสมกันในอัตราส่วนที่ เหมาะสม แล้วเข้าสู่กระบวนการปั่นเส้นใยด้วยกระแสไฟฟ้า (electrospinning) จนได้เป็นแผ่นฟิล์มหนา 100-200 ไมโครเมตร | |
แผ่นไฮโดรเจลสำหรับเพาะเมล็ดพืชให้เป็นต้นอ่อน | ไฮโดรเจลนั้นได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลายทั้งทางการแพทย์และการเกษตร สำหรับด้านการเกษตรมีงานวิจัยที่ประยุกต์ใช้ไฮโดรเจลที่มีคุณสมบัติดูดซับน้ำแบบยิ่งยวดเพื่อคงสภาพความชุ่มชื้นในดินให้แก่พืชในบริเวณการเพาะปลูกที่แห้งแล้ง นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ส่วนหนึ่งที่ประยุกต์ใช้ไฮโดรเจลสำหรับการเพาะเลี้ยงเมล็ดพืช ซึ่งเป็นที่มาของเทคโนโลยีแผ่นไฮโดรเจลสำหรับเพาะเมล็ดให้เป็นต้นอ่อนในงานประดิษฐ์นี้ | |
กรรมวิธีการขึ้นรูปแผ่นไฮโดรเจลที่มีส่วนประกอบของพอลิไวนิลแอลกอฮอล์และโปรตีนไหมไฟโบรอินโดยการฉายรังสี | วัสดุปิดแผลที่ใช้ในทางการแพทย์สำหรับการสมานแผลที่เกิดจากอุบัติเหตุไฟไหม้และน้ำร้อนลวกสามารถจำแนกประเภทได้หลายชนิดตามลักษณะโครงสร้าง เช่น แผ่นฟิล์ม แผ่นผ้า โฟม และไฮโดรเจล โดยวัสดุปิดแผลแต่ละชนิดมีความเหมาะสมต่อแผลที่มีลักษณะแตกต่างกัน ซึ่งในการพิจารณาเลือกใช้วัสดุปิดแผลที่เหทาะสมกับผู้ป่วยนั้น จะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 3 ประการ คือ ปริมาณสารคัดหลั่งบริเวณแผล การติดเชื้อและปริมาณเนื้อเยื่อผิวหนังใหม่ ที่สร้างขึ้นมาทดแทนบริเวณแผล | |
กรรมวิธีการขึ้นรูปไฮโดรเจลด้วยเครื่องเร่งอนุภาคอิเล็กตรอน | ไฮโดรเจลเป็นโครงสร้างของพอลิเมอร์ที่ชอบน้ำที่เกี่ยวพันกันอยู่ในลักษณะของร่างแห 3 มิติ โดยมีโมเลกุลของน้ำถูกกักเก็บอยู่ในช่องว่างระหว่างร่างแห ซึ่งส่งผลให้เกิดคุณสมบัติคู่ของวัสดุที่โดดเด่น คือ สามารถให้ความชุ่มชื้นกับพื้นผิวที่สัมผัสหรือดูดซับน้ำจากบริเวณโดยรอบเพื่อเข้ามากักเก็บไว้เพิ่มเติมภายในโครงสร้างได้ ปริมาณน้ำในโครงสร้างของไฮโดรเจลที่มีมากกว่า 90% เป็นสมบัติสำคัญที่ทำให้ไฮโดรเจลมีความเข้ากันได้เป็นอย่างดีกับร่างกาย | |
กรรมวิธีการผลิตแผ่นเจลเคลือบวุ้นว่านหางจระเข้โดยปราศจากสารกันเสียด้วยการฉายรังสีแกมมาสำหรับใช้เป็นแผ่นให้ความชุ่มชื้นใต้ดวงตา | ในปัจจุบันว่านหางจระเข้ได้ถูกนำมาใช้ทางการค้ากันอย่างแพร่หลาย ในด้านอาหารว่านหางจระเข้ถูกนำมาผลิตเป็นอาหารส่งเสริมสุขภาพและเครื่องดื่ม ส่วนด้านยาว่านหางจระเข้สามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคทางระบบผิวหนังรวมถึงระบบทางเดินอาหาร ซึ่งในประเทศไทยกระทรวงสาธารณสุขได้ขึ้นทะเบียนว่านหางจระเข้ไว้เป็นหนึ่งในสมุนไพรที่ขึ้นบัญชียาหลักแห่งชาติสำหรับช่วยในการบรรเทารักษาแผลไหม้และน้ำร้อนลวก และในด้านเครื่องสำอางว่านหางจระเข้ถูกนำมาใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตโลชั่น สบู่ แชมพู สารให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว เช่น ลิปสติก และผลิตภัณฑ์เสริมความงามอื่นๆ |
คู่มือการยื่นขอจดความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา (update version 2/2567)
Contact info: Technology Transfer Section
คุณมงคล (Mr. Mongkol mongkold@tint.or.th, 085-487-4009)