การประเมินความเสี่ยงและผลกระทบทางนิวเคลียร์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมจากสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ขนาดใหญ่
สถานประกอบการทางนิวเคลียร์จัดเป็นหนึ่งอุตสาหกรรมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์จากสารกัมมันตรังสีเพื่อสร้างรายให้แก่ประเทศชาติ ซึ่งสามารถพบเห็นได้ในหลาย ๆ ประเทศเช่นกัน เช่น การใช้ประโยชน์จากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัย และ หรือ จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นต้น อันตรายจากสถานประกอบการทางนิวเคลียร์นั้นเป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าสามารถเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสหกรรมเคมี ซึ่งในอดีตพบว่าบ่อยครั้งมีการรั่วไหลของสารเคมีไปสู่สิ่งแวดล้อมจากอุบัติเหตุหรือความประมาทของผู้ปฏิบัติงานแม้ว่าจะมีการจัดการป้องกันอย่างดีแล้วก็ตาม ในทำนองเดียวกันกับสถานประกอบการทางนิวเคลียร์เมื่อเกิดอุบัติเหตุลักษณะเดียวกันขึ้น ผลกระทบที่ได้รับซึ่งส่งผลต่อประชาชนและสิ่งแล้วล้อมโดยตรงก็คือการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสี โดยผลกระทบของการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีเมื่อถูกพิจารณาถึงอันตรายที่เกิดขึ้นพบว่าจะมีความรุนแรงมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับผลกระทบจากสารเคมีในอุตสหกรรมเคมีทั่วไปเนื่องจากในสารกัมมันตรังสีนั้นมีอันตรายจากการเกิดกัมมันตภาพรังสีซึ่งมีผลกระทบในทุกช่วงเวลาหากไม่มีการป้องกัน ดังนั้นการเตรียมการรับมือผลกระทบของสารกัมมันตรังสีที่มีในทุกช่วงเวลาจึงเป็นสิ่งจำเป็น
โดยในประเทศไทยได้มีการใช้ประโยชน์จากสถานประกอบการทางนิวเคลียร์เพื่อผลิตสารกัมมันตรังสีในทางการแพทย์ และใช้กัมมันตภาพรังสีในอุตสาหกรรมอัญมณี ซึ่งได้แก่ เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย-1 ปรับปรุงครั้งที่ 1 (ปปว.-1/1) ซึ่งจากการศึกษาพบว่าเครื่อง ปปว.-1/1 เป็นสารประกอบการทางนิวเคลียร์ที่มีโอกาสเกิดการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีไปสู่สิ่งแวดล้อมได้เช่นกัน ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาวิจัยและประเมินความเสี่ยงของเครื่อง ปปว.-1/1 ซึ่งเป็นจากสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ในประเทศไทยเพื่อตรวจสอบโอกาสการเกิดการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีไปสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาการวางแผนด้านความปลอดภัยของเครื่อง ปปว.-1/1 เพื่อลดโอกาสการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีในสิ่งแวดล้อมรวมไปถึงการเตรียมการรับมือผลกระทบที่มีโอกาสเกิดขึ้นด้วย
ในส่วนของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เมื่อพิจารณาถึงด้านความปลอดภัยเป็นอันตรายที่มีลักษณะเฉพาะตัวแล้วนั้นพบว่ามีแตกต่างจากอุตสาหกรรมด้านอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน เนื่องจากมีผลกระทบทางรังสี ดังนั้นจึงมีความจำเป็นจะต้องลดผลกระทบทางรังสีที่มีต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด การตรวจวัดรังสีในธรรมชาติจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อที่จะศึกษาความผิดปกติทางรังสีที่มีโอกาสเกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมเมื่อมีอุบัติเหตุร้ายแรงจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์รอบประเทศไทยและกลุ่มประเทศอาเซียน เช่น กรณีของอุบัติเหตุในฟุกุชิมะในอดีต อย่างไรก็ตามแม้ว่าประเทศไทยได้มีการสร้างสถานีการเฝ้าระวังทางรังสีในบรรยากาศมาบ้างแล้วซึ่งเน้นเพียงการตรวจวัดรังสีพื้นหลัง (radiation background) ในบรรยากาศ แต่ปัจจุบันยังไม่มีแนวทางการเฝ้าระวังและวิเคราะห์ความผิดปกติทางรังสีในบรรยากาศที่ครอบคลุมกรณีที่มีเหตุการณ์ความผิดปกติทางรังสี ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการวิจัยและพัฒนาการกำหนดแนวทางการเฝ้าระวังความผิดปกติทางรังสีในบรรยากาศ ซึ่งจะนำไปสู่การนำข้อมูลจากสถานีเฝ้าระวังทางรังสีในบรรยากาศไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สามารถเตรียมพร้อมรับเหตุการณ์และบริหารทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพทั้งในด้านการเตรียมบุคคลากร เครื่องมือ และงบประมาณ และมากไปกว่านั้นในมุมมองของการใช้พลังงานนิวเคลียร์ แม้ประเทศไทยจะยังไม่มีแผนการใช้พลังงานนิวเคลียร์ที่ชัดเจน แต่แนวโน้มของการเกิดขึ้นของพลังงานนิวเคลียร์รูปแบบใหม่ เช่น พลังงานลูกผสม ระหว่างพลังงานนิวเคลียร์และพลังงานหมุนเวียน ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่มีโอกาสได้รับความสนใจในภาคอาเซียนในอนาคต โดยเฉพาะผลกระทบที่มีโอกาสเกิดขึ้นในต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานของประเทศต่าง ๆ ได้อย่างสะอาดและยั่งยืน
เทคนิคทางนิวเคลียร์ที่ใช้
Probabilistic Risk Assessment (PRA) Techniques and Computational Simulation Tools
นายวศิน เวชกามา : วิศวกรนิวเคลียร์
ฝ่ายเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)