ห้องปฏิบัติการหาอายุตัวอย่างด้วยวิธีคาร์บอน-14
Radiocarbon (14C) Dating
- เทคนิคในการวิเคราะห์
1.1 เทคนิคการดูดซึมแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์โดยตรง (Direct Absorption) ASTM D6866-08a
1.2 เทคนิคการสังเคราะห์สารประกอบเบนซีน (Benzene Synthesis) ASTM D6866-18c
เครื่องมือ
2.1 เทคนิคการดูดซึมแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์โดยตรง (Direct Absorption)
- ระบบสุญญากาศสำหรับการเตรียมแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์บริสุทธิ์ (CO2 Gas Preparation)
- ระบบสุญญากาศสำหรับการดูดซึมแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 Direct Absorption Line)
- เครื่องวัดรังสีแบบเรืองแสงในของเหลว (Liquid Scintillation Counter)
- โปรแกรมสำหรับวิเคราะห์อายุตัวอย่าง
2.2 เทคนิคการสังเคราะห์เบนซีน (Benzene Synthesis)
- ระบบการเปลี่ยนคาร์บอนในตัวอย่างให้อยู่นรูปแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์บริสุทธิ์
- ระบบการเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นแก๊สอะเซทิลีน
- ระบบการเปลี่ยนแก๊สอะเซทิลีนเป็นสารประกอบเบนซีน
- เครื่องวัดรังสีแบบเรืองแสงในของเหลว (Liquid Scintillation Counter)
- โปรแกรมสำหรับวิเคราะห์อายุตัวอย่าง
วัตถุประสงค์
วิเคราะห์หาอายุตัวอย่าง (Dating) และปริมาณสารชีวมวล (Bio content) ด้วยวิธีคาร์บอน-14
- สถานที่
อาคาร 3 สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) อ.องครักษ์ จ.นครนายก
- ชื่อผู้ติดต่อ
5.1 Direct Absorption นายเกียรติพงษ์ คำดี
5.2 Benzene Synthesis นางสาวนิชธิมา เอื้อพูนผล
- วิธีการวิเคราะห์
การตรวจหาอายุตัวอย่างด้วยวิธีคาร์บอน-14 เป็นการวิเคราะห์หาอายุของตัวอย่างโดยต้องผ่านกระบวนการเปลี่ยนคาร์บอนในตัวอย่างให้เป็นสารประกอบอินทรีย์ และเปรียบเทียบกับกัมมันตภาพรังสีของสารมาตรฐาน ซึ่งสารมาตรฐานที่นิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน คือ กรดออกซาลิก และ ANU Sucrose
จากกฎการสลายของธาตุกัมมันตรังสี สามารถนำมาใช้ในการหาอายุของวัตถุโบราณ ดังแสดงในสมการ
t = 8033 ln(A0/At)
ตารางที่ 1 ปริมาณของตัวอย่างชนิดต่าง ๆ ที่จะนำมาหาอายุหรือปริมาณสารชีวมวลได้
ชนิดของตัวอย่าง |
สำหรับเทคนิคการดูดซึมแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์โดยตรง |
สำหรับเทคนิคการสังเคราะห์สารประกอบเบนซีน |
พลาสติก |
10 |
5 |
ถ่าน |
10 |
อยู่ระหว่างศึกษาวิจัย |
ไม้ |
30 |
อยู่ระหว่างศึกษาวิจัย |
เปลือกหอย |
50 |
อยู่ระหว่างศึกษาวิจัย |
กระดูก |
500 |
อยู่ระหว่างศึกษาวิจัย |
น้ำบาดาล (ตะกอน) |
500 |
อยู่ระหว่างศึกษาวิจัย |
หมายเหตุ ปริมาณตัวอย่างที่แสดงดังตารางเป็นปริมาณหลังจากที่แยกสิ่งปนเปื้อนต่าง ๆ ออกแล้ว
รูปแบบการรายงานผลค่าอายุของคาร์บอน-14 แสดงได้ 2 ลักษณะ ได้แก่
1) รายงานเป็นจำนวนปีนับจากเวลาปัจจุบัน หรือ ปี, B.P. (year, before present) ซึ่งหมายถึงอายุเป็นจำนวนปีก่อนคริสตศักราช 1950 ช่วงอายุของตัวอย่างที่สามารถทำการวิเคราะห์ได้อยู่ระหว่าง 200 – 40,000 ปี และถ้าหากค่าอายุมีค่าต่ำกว่า 200 ปี จะรายงานผลเป็น modern carbon
2) รายงานในรูปของ percent modern carbon (pmc) ซึ่งเป็นการรายงานที่เหมาะสมสำหรับตัวอย่างประเภทพลาสติกชีวภาพ ที่ต้องการทราบปริมาณสารชีวมวล (biobased content)
- ข้อจำกัด
7.1 ต้องมีปริมาณตัวอย่างได้อย่างน้อย ตามที่ระบุในตารางที่ 1 เพื่อให้มีปริมาณคาร์บอนเพียงพอในการทดสอบ
7.2 ความคลาดเคลื่อนในการกำหนดอายุที่ได้จากการนับรังสีคาร์บอน-14 ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่
1) ความรู้คุณสมบัติของวัตถุตัวอย่าง
2) ส่วนประกอบของวัตถุตัวอย่าง
3) แหล่งที่มาของวัตถุตัวอย่าง เนื่องจากวัตถุที่นำมาวิเคราะห์จะผ่านกระบวนการทาง ธรรมชาติทั้งการกัดกร่อน การทำลายโครงสร้าง และการเจือปนจากสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารอินทรีย์หรือรากไม้ที่อายุน้อยกว่าทำให้ตัวอย่างมีอายุน้อยกว่าความเป็นจริง หรือทางกลับกันการปนเปื้อนน้ำมันหล่อลื่นจากเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บตัวอย่างก็จะทำให้ตัวอย่างมีอายุมากกว่าความเป็นจริง
4) กระบวนการเตรียมตัวอย่างทั้งทางกายภาพ (physicals pretreatment) และทางเคมี (chemicals pretreatment) ก่อนเริ่มกระบวนการวิเคราะห์ที่ต้องแยกสิ่งปนเปื้อนออกให้หมด
5) การเกิดปฏิกิริยา Isotope fractionation
จัดทำโดย: นิชธิมา เอื้อพูนผล