Skip to content

X-Ray Fluorescent Spectrometry for Rare Earth Lab

ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ธาตุหายากและโลหะผสมด้วยเทคนิคการเรืองรังสีเอกซ์

เครื่องมือ: Vanta handheld X-ray fluorescence (XRF)

วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์ชนิดของธาตุหายากและปริมาณธาตุหายากและธาตุอื่นๆในตัวอย่างงาน ทั้งในห้องปฏิบัติการและนอกพื้นที่

คุณสมบัติของเครื่อง Vanta handheld X-ray fluorescence (XRF):

  • สามารถวิเคราะห์ธาตุได้ตั้งแต่ Mg-U
  • ไม่ต้องเตรียมชิ้นงาน
  • สามารถวัดงานในลักษณะต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นผง ของแข็ง หรือโลหะหนักในสารละลายได้

หลักการ:
เทคนิคการเรืองรังสีเอกซ์หรือ X-ray fluorescence (XRF) เป็นเทคนิคที่ใช้สำหรับการศึกษาองค์ประกอบของธาตุที่อยู่ในตัวอย่าง โดยอาศัยความต่างของชั้นพลังงานของแต่ละธาตุ (ชั้น K, L, M, …) ดังนั้น เมื่อทำการกระตุ้นอะตอมด้วยการให้พลังงานที่มากกว่าพลังงานยึดเหนี่ยวของอิเล็กตรอนชั้นใน ทำให้เกิดที่ว่าง (hole) และเมื่ออิเล็กตรอนในชั้นนอกลงมาแทนที่ อะตอมจะปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปของรังสีเอกซ์ และคายพลังงานออกมาในรูปของรังสีเอกซ์ที่มีพลังงานจำเพาะ (characteristic X ray) ของแต่ละธาตุ เรียกปรากฏการณ์ดังกล่าวว่า “การเรืองรังสีเอกซ์” โดยเทคนิคนี้จะใช้การเตรียมตัวอย่างที่ไม่ยุ่งยาก และเป็นเทคนิคที่ไม่ทำลายคุณสมบัติของตัวอย่าง (non-destructive method)

รูปภาพแสดงอันตรกิริยาระหว่างรังสีเอกซ์และอิเล็กตรอนที่ตกกระทบด้วยระดับพลังงานที่แตกต่างกันในวัสดุ

สถานที่: สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี

ผู้ดูแล: ศศิกานต์ นุชแดง

จัดทำโดย: นางสาววิลาสินี กิ่งก้ำ (updated 260720)