Skip to content

Radiopharmaceutical Lab

ห้องปฏิบัติการวิจัยเภสัชรังสี

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อพัฒนากระบวนการเตรียมเภสัชรังสีที่มีการใช้งานระดับคลินิกและเป็นที่ยอมรับในต่างประเทศ ให้สามารถใช้งานใน ประเทศไทยได้โดยมีคุณสมบัติเทียบเท่า เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้าและเพิ่มทางเลือกให้กับแพทย์และคนไข้
  2. เพื่อคิดค้นและพัฒนาเภสัชรังสีชนิดใหม่สำหรับการวินิจฉัยและบำบัดรักษาโรคต่าง ๆ

หลักการ

เภสัชรังสี (radiopharmaceuticals) คือ ยาที่มีองค์ประกอบของสารกัมมันตรังสีซึ่งปลดปล่อยให้รังสีออกมาเพื่อการบำบัดรักษาหรือวินิจฉัยโรคต่าง ๆ   เช่น มะเร็งและเนื้องอก ข้ออักเสบ หัวใจวาย  อัลไซเมอร์ เป็นต้น ปัจจุบันสารเภสัชรังสี มักใช้สำหรับการวินิจฉัยและรักษาแบบมุ่งเป้า โดยถูกพัฒนาให้มีความจำเพาะต่อรอยโรคสูง กล่าวคือ สารเภสัชรังสีจะเลือกจับเฉพาะเซลล์ที่เกิดโรคแต่ไม่จับหรือทำลายเซลล์ดี ซึ่งสามารถทำได้โดยการติดฉลากสารกัมมันตรังสีกับสารเคมีหรือสารชีวโมเลกุลที่ เฉพาะเจาะจงกับเซลล์ที่เกิดโรค เป็นตัวนำพารังสีไปสู่เป้าหมายแล้วปลดปล่อยรังสีแอลฟา (α) หรือรังสีบีต้า (ß) เพื่อทำลายเซลล์ และรังสีแกมมา (γ) หรือโพสิตรอน (ß+) สำหรับชี้ตำแหน่งรอยโรค

Figure 1. แสดงการวินิจฉัยและรักษาแบบมุ่งเป้า โดยสารเภสัชรังสีถูกออกแบบให้เลือกจับเฉพาะเซลล์ที่เกิดโรค
Figure 2. ตัวอย่างภาพถ่ายรังสีที่ได้จากฉีดสารเภสัชรังสีให้หนูทดลองที่ติดเชื้อรา Aspergillus fumigatus ที่ปอด แสดงให้เห็นตำแหน่งที่เกิดการติดเชื้อราเมื่อเทียบกับหนูปกติที่ไม่แสดงจุดสว่างที่บริเวณปอด [1]
งานวิจัยที่ดำเนินการ (บางส่วน)

  • การพัฒนาสารติดฉลาก 188Re-hynic-lanreotide เพื่อใช้งานบำบัดรักษาโรคมะเร็ง
  • ประสิทธิภาพของแรร์เอิร์ทเรซินในการเพิ่มความบริสุทธิ์ของอิตเทรียม-90 ที่ได้จากการสกัด
  • การศึกษาประสิทธิภาพการเกาะจับของสารเภสัชรังสีของอิตเทรียมต่อมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
  • การเตรียมเภสัชรังสีอิตเทรียม-90 บอมบิซินเปปไทด์ สำหรับการรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า
  • การเชื่อมต่ออนุภาคนาโนกับเภสัชรังสี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการนำส่งเภสัชรังสี
  • การเตรียมเภสัชรังสีแกลเลียม-68 บอมบิซิน เปปไทด์ สำหรับการตรวจวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมากด้วยเพทสแกน

การทดลอง

In vitro

  • Radiolabeling
  • Stability test
  • Distribution coefficient study
  • Internalization assay
  • Saturation study
  • IC50 determination

In vivo

  • Biodistribution study
  • Radiation accumulation
  • Animal imaging

*หมายเหตุ ทำการทดลอง In vivo ในสถานที่สำหรับสัตว์ทดลองที่ถูกต้องตาม พรบ. สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2558

 เครื่องมือที่ใช้วิจัย

  • 68Ge/68Ga generator
  • Radio-reverse-phase high performance liquid chromatography (Radio-RP HPLC)
  • Gamma counter
  • TLC scanner
Figure 3. Gamma counter
Figure 4. Reverse-phase HPLC
Figure 5. TLC Scanner

สถานที่

อาคาร 10 สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) อ.องครักษ์

เอกสารอ้างอิง

[1] Kaeopookum P, Summer D, Pfister J, Orasch T, Lechner BE, Petrik M, et al. Modifying the siderophore triacetylfusarinine C for molecular imaging of fungal infection. Mol Imaging Biol 2019. https://doi.org/10.1007/s11307-019-01325-6.


ผู้จัดทำ: พิริญา แก้วพุกัม
update: 28 May 2020