Skip to content

Food Irradiation Lab

ห้องปฏิบัติการอาหารฉายรังสี

อาหารฉายรังสี (irradiated food) คือ อาหารที่แปรรูปโดยการผลิตด้วยกรรมวิธีการฉายรังสี1  โดยรังสีที่อนุญาตให้ใช้ในกระบวนการฉายรังสีอาหาร ได้แก่

  • รังสีแกมมา จากเครื่องฉายรังสีที่มีโคบอลต์-60 (60Co) หรือซีเซียม-137 (137Cs) เป็นต้นกำเนิดรังสี
  • รังสีเอกซ์ จากเครื่องผลิตรังสีเอ็กซ์ที่ระดับพลังงานไม่สูงกว่า 5 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ (MeV)
  • ลำอิเล็กตรอน จากเครื่องเร่งอนุภาคอิเล็กตรอน2 ที่ระดับพลังงานไม่สูงกว่า 10 MeV

วัตถุประสงค์ การฉายรังสีอาหาร3 มีหลายประการด้วยกันขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารและผลของรังสีที่มีต่ออาหารชนิดนั้นๆ ได้แก่

1. เพื่อลดปริมาณจุลินทรีย์ และจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค เช่น ฉายรังสีแหนมปริมาณ 2 กิโลเกรย์ เพื่อทําลายเชื้อซาลโมเนลลา สาเหตุของโรคทองร่วง
2. เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา เช่น ฉายรังสีเนื้อหมูปริมาณ 2 กิโลเกรย์ เก็บที่อุณหภูมิตู้เย็นสามารถเก็บได้นานกว่าเนื้อหมูที่ไม่ฉายรังสี 2 เท่า
3. เพื่อชะลอการสุกของผลไม้ เช่น การฉายรังสีกล้วยหอมปริมาณ 0.3 กิโลเกรย์ สามารถชะลอการสุกให้ช้าลงกว่าที่ไม่ฉายรังสีประมาณ 3-5 วัน
4. เพื่อยับยั้งการงอกระหว่างการเก็บรักษา เช่น การฉายรังสีหัวหอมใหญ่ปริมาณ 0.06-0.1 กิโลเกรย์ เก็บที่อุณหภูมิ 2 องศาเซลเซียส สามารถยับยั้งการงอกได้นาน 5-6 เดือน
5. เพื่อควบคุมการแพร่พันธุ์ของแมลง เช่น การฉายรังสีเครื่องเทศชนิดต่าง ๆ ข้าวสาร ถั่วเขียว ถั่วเหลือง และมะขามหวาน มีผลให้แมลงถูกทําลายด้วยรังสีทันทีไม่ว่าอยู่ในระยะใดของการเจริญ
6. เพื่อกําจัดปรสิต เช่น การฉายรังสีเนื้อปลาน้ำจืดแบบดิบปริมาณ 0.6 กิโลเกรย์ สามารถกำจัดพยาธิใบไม้ตับ (Opisthorchis viverrini และ Clonorchis sinensis) ได้

สัญลักษณ์อาหารฉายรังสี อาหารที่ผ่านการฉายรังสีต้องแสดงฉลากพร้อมทั้งเครื่องหมายการฉายรังสี (Radura) ตามภาพที่ 1 มีลักษณะเป็นรูปวงกลมขอบหนาทึบสีเขียว ขอบของครึ่งวงกลมช่วงบนแบ่งเป็น 4 ส่วนเท่า ๆ กัน มีช่องว่างระหว่างขอบนอกแต่ละส่วน 5 ระยะเท่า ๆ กัน ภายในเนื้อที่ครึ่งวงกลมช่วงบนมีวงกลมทึบสีเขียวขนาดเล็ก ส่วนภายในเนื้อที่ครึ่งวงกลมช่วงล่าง จะมีเครื่องหมายรูปวงรีทึบสีเขียว 2 วงแยกกัน ปลายด้านหนึ่งของแต่ละวงเชื่อมต่อกัน4

radura
ภาพที่ 1 : แสดงเครื่องหมายการฉายรังสี (Radura)

การตรวจสอบสมบัติด้านต่าง ๆ ของอาหารฉายรังสี ได้แก่

สมบัติเทคนิคเครื่องมือ
1.ทางกายภาพสี (Color)Color meter
ความหนืด (Viscosity)Viscosity meter
เนื้อสัมผัส (Food texture)Texture analyzer
2. ทางเคมีปริมาณไขมัน (Fat content)Fat extraction system
ปริมาณโปรตีนทั้งหมด
(Total protein)
Distillation unit
ปริมาณน้ำอิสระ
(Water activity)
Water activity meter
ปริมาณสารออกฤทธิ์
(Active ingredients)
High Performance Liquid Chromatography (HPLC)
3. ทางจุลชีววิทยา– จุลินทรีย์ทั้งหมด (total viable bacterial count)
– ยีสต์และรา (total yeast and mold)
– จุลินทรีย์ก่อโรค (pathogen)
Laminar air flow
4. ประสาทสัมผัส– 9 point hedonic scale
– Triangle test
Food sensory lab

สถานที่

อาคาร 8 สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก

ติดต่อ

  • สุรศักดิ์ สัจจบุตร Email : surasak@tint.or.th
  • วชิราภรณ์ ผิวล่อง Email : wachirapornp@tint.or.th
  • จารุรัตน์ เอี่ยมศิริ Email : jaruratana@tint.or.th
  • ศิริลักษณ์ ชูแก้ว Email : sirilakc@tint.or.th
  • เขมรุจิ เข็มทอง  Email : khemruji@tint.or.th

อ้างอิง

1.  กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 297, พ.ศ. 2549. เรื่องอาหารฉายรังสี. ราชกิจจานุเบกษา. 1 กันยายน 2549. เล่มที่ 123 ตอนที่ 93 ง.
2. Sarve,r A. R., Peerzada, R. H., Prashant, P. S., Omeera, A., Bhaskar, S., Abhijit, T., Nishant, C., Chavand, R. B. and Sunil, K. G., 2019. Comparison of gamma and electron beam irradiation for using phyto-sanitary treatment and improving physico-chemical quality of dried apricot and quince.  Journal of Radiation Reseach and Applied sciences, 12(1), 245259.
3. โกวิทย์  นุชประมูล.  2529.  อาหารฉายรังสี.  สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กรุงเทพมหานคร.
4.  กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 297, พ.ศ. 2549. เรื่องอาหารฉายรังสี. ราชกิจจานุเบกษา. 1 กันยายน 2549. บัญชีหมายเลข 3 แนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข


จัดทำโดย: ศิริลักษณ์​ ชูแก้ว และ เขมรุจิ เข็มทอง
Created: August 2021