กลุ่มงานวิจัย มุ่งพัฒนางานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรมการประยุกต์ใช้เทคนิคทางนิวเคลียร์ในการศึกษาประเมินการเปลี่ยนแปลงทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อหาแนวทางการจัดการตอบสนองนโยบายทางสิ่งแวดล้อมของประเทศ ปัจจุบันเทคนิคทางนิวเคลียร์สำหรับงานวิจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมถูกพัฒนาไปอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น เทคนิคทางด้านไอโซโทปรังสีในตัวอย่างสิ่งแวดล้อมเพื่อการกำหนดค่าอายุ เช่น TL-OSL Dating, ESR, K-Ar, Radiocarbon dating, Tritium dating การหาแหล่งที่มาโดยใช้ สัดส่วนไอโซโทปเสถียร เช่น d13C, d 2H, และ d 18O งานทางด้านการวิเคราะห์ธาตุโดยใช้เทคนิคทางนิวเคลียร์ เช่น P-XRF, XRD งานด้านการตรวจวัดนิวไคลด์กัมมันตรังสีตามธรรมชาติเพื่อความปลอดภัย เช่น ไอโซโทป 222Rn 226Ra และ 232Th เป็นต้น
หัวข้องานวิจัยในปัจจุบันของกลุ่ม สามารถแบ่งออกเป็น 4 ด้านหลัก ดังนี้
- การศึกษาวัฏจักรน้ำด้วยไอโซโทปไฮโดรโลยี (Isotope hydrology)
- การศึกษาวิจัยทรัพยากรดินและทรัพยากรทางทะเล
- การศึกษาเรื่องความปลอดภัยและการประยุกต์ใช้การตรวจวัดนิวไคลด์กัมมันตรังสีตามธรรมชาติ (Naturally occurring radioactive material NORM)
- การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากแหล่งกำเนิดรังสีขนาดใหญ่
ห้องปฏิบัติการวิจัยและเครื่องมือวิจัยที่เกี่ยวข้อง
- ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์อายุด้วย C-14 (Carbon Dating Lab)
- ห้องปฏิบัติการไอโซโทปเสถียรของน้ำ (d 2H and d 18O) ด้วยเครื่อง Laser Spectroscopic Analysis of Liquid Water Samples
- ห้องปฏิบัติการไอโซโทปเสถียรด้วยเครื่องวัดอัตราส่วนไอโซโทปเสถียร (Isotope Ratio Mass Spectrometer: IRMS)
- ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ปริมาณทริเทรียมระดับต่ำในน้ำโดยวิธีการเพิ่มความเข้มข้น
- ห้องปฏิบัติการเรดอน (Radon Lab)
- ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์อายุด้วยวิธี TL-OSL Dating
- ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ธาตุหายากและโลหะผสมด้วยเทคนิคการเรืองรังสีเอกซ์ (XRF for Rare Earth lab)